ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • นิภาพร สักขู คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ลำพึง วอนอก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุทิน ชนะบุญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วรรณศรี แววงาม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมป้องกัน, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ การป้องกันโรคไข้เลือดออก ระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม การป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 732 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญและการทดลองใช้ แล้วนำมา วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิง อนุมาน Multiple logistic regression และนำเสนอค่าความสัมพันธ์ด้วย Adjusted odds ratios ค่าช่วงเชื่อมั่น 95% CI และค่า p-value ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (64.76%) อายุเฉลี่ย 47.00 ปี (S.D.= 14.27) สถานะภาพสมรส (66.94%) ไม่มีโรคประจำตัว (74.59%) การศึกษาประถมศึกษา (43.44%) อาชีพ เกษตรกรรม (54.37%) รายได้เฉลี่ย 6,000 บาท/ปี (S.D. 7,654.77) ระยะเวลาที่อาศัยในหมู่บ้าน อยู่ระหว่าง 2-71 ปี (Med=40) จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย (Med=4.00) ไม่มีประวัติการป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออก (94.95%) ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง (96.72%) ระดับความ รอบรู้ด้านสุขภาพทั้ง 4 ด้าน มีระดับไม่เพียงพอ (ร้อยละ 93.03) ระดับเป็นปัญหา (ร้อยละ 4.64) ระดับเพียงพอ (ร้อยละ 1.78) และ ระดับดีเลิศ (ร้อยละ 0.55) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันโรคไข้เลือดออกและคุณลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการ ป้องกันโรคไข้เลือดออก พบมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 5 ตัวแปร ดังนี้ ระดับ การศึกษา (ORadj =2.01 ,95%CI = 1.17-3.44, p-value = 0.01) อาชีพ (ORadj =2.27, 95%CI =1.32-3.88, p-value = <0.01) รายได้ (ORadj =1.90, 95%CI =1.16-3.11 , p-value = 0.01) ความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ (ORadj =2.09, 95%CI =1.20-3.61, p-value =<0.01) ความ รอบรู้ด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางสุขภาพ (ORadj =2.99, 95%CI =1.69-5.30,p-value = <0.01)

References

Drugs for Neglected Diseases initiative (DNDi). Dengue. [Internet] [cited 2023 April 24] Available from: https:// rb.gy/7rkz8

World Health Organization. Global Dengue 2023. [Internet] [cited 2023 April 10] Available from: https://rb.gy/ crgvt

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. อุบัติการณ์การ เกิดโรคไข้เลือดออก. [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึง เมื่อ 10 เม.ย. 2565]; เข้าถึงได้จาก :https:// ddc.moph.go.th/dvb/

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. อุบัติการณ์การเกิดโรคไข้ เลือดออก.[อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2565]; เข้าถึงได้จาก :http://odpc9.ddc. moph.go.th/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ อุบัติ การณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 10 เม.ย. 2565]; เข้าถึงได้จาก : https://cpho.moph.go.th/

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแก้งคร้อ อุบัติ การณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 25 มี.ค. 2565]; เข้าถึงได้จาก : http://www.kkph2023.com/

พรพรรณ สมินทร์ปัญญา, อำไพวรรณ ทุม แสน, สุภัจฉรี มะกรครรภ์. ความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือด ออกของประชาชน บ้านคั่นตะเคียน ตำบล มิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. Journal of Nursing, Siam University. 2563; 18(35), 37-51.

วีระ กองสนั่น,อมรศักดิ์ โพธิ์อำ. ความรอบรู้ ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัด สุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและ การสาธารณสุขชุมชน. 2563; 3(1): 35-44.

Sorensen, K., Pelikan, J. M., Röthlin, F., Ganahl, K., Slonska, Z., Doyle, G., & Brand, H. Health literacy in Europe: comparative results of the European health literacy survey (HLS-EU). European journal of public health. 2015; 25(6), 1053-1058.

Hsieh FY. Sample size tables for logistic regression. Statistics in medicine. 1989 Jul;8(7):795-802.

วิทยา ศรแก้ว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของประชาชนในตำบลที่มีอัตราป่วยสูง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2565; 2(1) 1-14. 12. Kuder, G. F., & Richardson, M. W. The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika.1937; 2(3), 151–160.

บุญประจักษ์ จันทร์วิน,วิทยา ศรแก้ว, วัลลภา ดิษสระ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออกของประชาชนวัยทำงาน อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564; 7(4), 72-86

พุทธิพงศ์ บุญชู. การเปรียบเทียบระดับ ความรู้ เจตคติ การรับรู้ และพฤติกรรมการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ ประชาชนในหมู่บ้านปลอดโรคกับ หมู่บ้าน ที่มีการระบาดของโรคในตำบลน้ำผุด อำเภอ เมืองตรัง จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุข และวิทยาศาสตรสุขภาพ. 2563; 3(3),79- 94

รัชฎากรณ์ มีคุณ, กรรณิกา สาลีอาจ, ชล การ ทรงศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้ เลือดออกของประชาชนบ้านหนองอีเบ้า ตำบลขอนยูง อำเภอ กุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา. 2562; 2(2), 26-34

พรทิพย์ แก้วชิณ,ชัญญานุช ไพรวงษ์,ธนาคาร เสถียรพูนสุข,วิฑูรย์ เจียกงูเหลือม,ภาวินี ทิพย์กระโทก,เสาวลักษณ์ บุตรศรี,และคณะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับ การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรค ไข้เลือดออก ตำบลละลวด อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ท เทิร์น,2564;2(3),67-81

ตวงพร กตัญญุตานนท์, ศิรินภา ภักดี, พิมพ์พิมล ปัดสบาน, โศภิดา บุญมา, พัต มี บาเหะ, ตติยา แก้วกระจก และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ป้องกันโรคชิคุนกุนยาของประชาชนใน ตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมหาวิทยาลัย หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ. 2564; 25(1), 41-52

ณัฐยา สุนัติ, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ยุวดี รอดจากภัย, วัลลภ ใจดี. ปัจจัยทำนาย พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้ เลือดออกของประชาชนในอำเภอเกาะ ช้างจังหวัดตราด. วารสารการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564; 16(2),53-67

พิชัย พวงสด, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ, พุฒิพงษ์ มากมาย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตอำเภอ ปราสาท จังหวัสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น,2563;1(3),1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-03-2024