การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการหอบกำเริบเฉียบพลัน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • กฤษณา คำลอยฟ้า โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

กระบวนการพยาบาล, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, อาการหอบกำเริบเฉียบพลัน, 11 แบบแผน สุขภาพของกอร์ดอน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา (case study) เพื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่มีอาการหอบกำเริบเฉียบพลัน จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับกรรักษาที่โรงพยาบาลขอนแก่น เครื่องมือ ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) เวชระเบียนผู้ป่วยนอกและใน 2 การสังเกต การสัมภาษณ์ ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการแสดง และ การรักษา 3) แบบบันทึกทางการพยาบาล โดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผน ทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อให้ทราบปัญหาของผู้ป่วย นำข้อมูลที่ได้มาวางแผน ให้การพยาบาลผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการหอบกำเริบเฉียบพลันกำหนดข้อวินิจฉัยทาง การพยาบาลและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟู และระยะก่อนจำหน่าย ผลการศึกษา: กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เป็นผู้สูงอายุที่ยังไม่เลิกบุหรี่ มารับการรักษาไม่ต่อ เนื่อง และมีประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจร่วมด้วย ซึ่งทำให้มีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดอาการหอบ กำเริบเฉียบพลัน การประเมินผู้ป่วยในภาวะวิกฤตอย่างรวดเร็วและให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดความรุนแรง ลดอัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยได้ การวางแผนจำหน่ายและการดูแลอย่าง ต่อเนื่องด้วยความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยและญาติจะช่วยลดอุบัติการณ์อาการหอบ กำเริบเฉียบพลัน ดังนั้นพยาบาลจึงมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยทั้งในภาวะปกติและวิกฤตซึ่งต้อง มีความรู้ ทักษะ ความชำนาญที่เป็นพิเศษในการดูแลผู้ป่วย เพื่อนำไปวางแผนปฏิบัติการพยาบาล ตามมาตรฐานสอดคล้องกับแผนการรักษาตั้งแต่แรกรับจนจำหน่าย เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและ มีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

สมาคมอุรเวชซ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:ภาพพิมพ์ จำกัด; 2565.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวง สาธารณสุข. สถิติโรคกรมการแพทย์. รายงานสถิติโรค ปีงบประมาณ2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลขอนแก่น. รายงาน ประจำปี 2565. จังหวัดขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น; 2565.

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล และ แบบแผนสุขภาพ. การประยุกต์ใช้ทาง คลินิก. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร; 2561.

พลอยศุภางค์ ชุ่มสระน้อย. การพยาบาล ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการหอบ กำเริบเฉียบพลัน. Journal of Health and Environment. 2021; 6(3): 51-54.

กรรณิการ์ นิยะสม. การพยาบาลผู้ป่วยโรค ปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะหายใจล้มเหลว : กรณีศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบ สุขภาพ. 2563; 13(2): 70-77.

บุญสว่าง พิลาโสภา. การพยาบาลผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการหอบกำเริบ เฉียบพลัน : กรณีศึกษา 2 ราย.วารสาร สุขภาพสิ่งแวดล้อมศึกษา 2566; 8(1): 232-242.

พวงเพชร ใจคำ, เดชา ทำดี, ศิวพร อึ้งวัฒนา. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการ ตนเองของชาวไทยในพื้นที่สูงทีเป็นโรคปอด อุดกั้นเรื้อรัง. พยาบาลสาร. 2563; 47(4): 142-151.

เพ็ญศิริ สิริกุล, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, รสสุคนธ์ แสงมณี. ผลของรูปแบบการ ดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน หลังจำหน่าย. วารสารพยาบาลโรคหัวใจ และทรวงอก 2560; 28(1): 57-68.

สุนิศา คำหาญ, สันติ สิลัยรัตน์. ภาวะ โภชนาการในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการ กำเริบเฉียบพลัน. วชิรเวชสาร และวารสาร เวชศาสตร์เขตเมือง 2564; 65(5): 399-413

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-03-2024