ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ ในการช่วยเหลือสนับสนุน ผู้ดูแลหลักในครอบครัว

ผู้แต่ง

  • ฤทธิรงค์ เรืองฤทธิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • พิสมัย ศรีทำนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การดูแลสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ, ผู้ดูแลหลัก, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุสมอง เสื่อมอย่างเพียงพอ ในการช่วยเหลือสนับสนุนผู้ดูแลหลักในครอบครัว เป็นวิจัยแบบ Quasi Experimental สองกลุ่มวัดซ้ำ โดยวัดก่อนและหลังการทดลอง 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ ที่มีความบกพร่องในการรับรู้และมีภาวะสมองเสื่อมมีอาการผิดปกติทางพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับ ภาวะสมองเสื่อมอย่างน้อยหนึ่งอาการและผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อาศัยในครอบครัวเดียวกัน ในจังหวัด มหาสารคาม จำนวน 172 คู่ เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 86 คู่ โดยกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ ในการช่วยเหลือสนับสนุนผู้ดูแลหลัก ในครอบครัว ภายใต้การกำกับดูแลของ Care Manage และ Care Giver ระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติตามแผน Long term care ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง หลังทดลองโปรแกรมการดูแลสมองเสื่อมอย่าง พอเพียง มีความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันดีขึ้นและเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ภายหลังการทดลอง พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภาระการดูแลของผู้ดูแลหลัก ในกลุ่มทดลองพบว่า หลังทดลองฯ ภาระการดูแลลดลงจากก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนภาระการดูแลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอมีความเหมาะสม ส่งผลเชิงบวกต่อ การดูแลผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการรับรู้หรือมีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลหลักในครอบครัว ทำให้ผู้สูงอายุสมองเสื่อมและผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

References

วิชัย เอกพลากร. รายงานสำรวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข; 2557.

กรมการแพทย์. รายงานผลการศึกษา ระบบการคุมครองด้านสุขภาพและสังคม สำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่มีปัญหา และความต้องการการดู แลระยะยาว ในชุมชนชนบท. กรุงเทพฯ; 2560.

ปิ่นนเรศ กาศอุดม, ฆนรส อภิญญาลังกร, กัญญ์สินิ จันทร์เจริญ, นิมัสตูรา แว. บทบาท ครอบครัวในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ สูงอายุ ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการ สาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(3):300–10.

วีณา ลิ้มสกุล, อุไรวรรณ แง่งจุ้ย และอาภรณ์ สุขโสดา. ผลของการให้คำปรึกษาแก่ผู้ดูแล ผู้มีภาวะสมองเสื่อม ต่อความสามารถในการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้มีภาวะสมอง เสื่อมและความเครียดของผู้ดูแล. วารสาร พยาบาล. 2557;4(63).

ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ และคณะ. การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียง พอสำหรับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว. ขอนแก่น: บริษัทเพ็ญพรินติ้ง จำกัด; 2565.

ศิราณี ศรีหาภาคและคณะ. คู่มือพัฒนา ศักยภาพผู้จัดการดูแลและบุคลากรสุขภาพ การดูแล ผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น : บริษัทเพ็ญพรินติ๊ง จำกัด; 2565.

Wade DT, Collin C. The Barthel ADL Index a standard measure of physical disability. Int Disabil Stud. 1988;10(2):64-7.

Jitapunkul S, Kamolratanakul P, Ebrahim S. The meaning of activities of daily living in a Thai elderly population: development of a new index. Age Ageing. 1994;23(2):97-101.

Chen H, Levkoff S, Chuengsatiansup K, Sihapark S, Hinton L, GallagherThompson D, et al. Implementation Science in Thailand: Design and Methods of a Geriatric Mental Health Cluster-Randomized Trial. Psychiatr Serv. 2022;73(1):83–91.

Bédard M, William Molloy D, Squire L, Dubois S, Lever JA. The Zarit Burden Interview: A New Short Version and Screening Version. The Gerontologist. 2001; 41(5),652-657.

Pinyopornpanish K, Soontornpun A, Wongpakaran T, Wongpakaran N, Tanprawate S, Pinyopornpanish K, et al. Impact of behavioral and psychological symptoms of Alzheimer’s disease on caregiver outcomes. Sci Rep. 2022;12(1)

เพชรรัตน์ พิบาลวงค์และคณะ. การศึกษา สถานการณ์ภาวะสมองเสื่อมและปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของ ผู้สูงอายุในภาคตะวันอกเฉียงเหนือ. ราชาวดี สาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2561;8(2).

ชุติมา ทองวชิระ. ความชุก ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ และการพัฒนาคู่มือการให้ความรู้ : กรณี ศึกษาชุมชนเขตบางพลัด. มหาวิทยาลัย สวนดุสิต:กรุงเทพฯ. 2559. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565]; เข้าถึงได้ จาก: https://doi.nrct. go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_ DOI=10.14457/SDU.res.2016.13

สาธิตา แรกคำนวณ, พีรพนธ์ ลือบุญธวัช ชัย. ปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วย ภาวะ สมองเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์และภาระ การดูแล ของผู้ดูแล ที่แผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์. วารสารสมาคม จิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555;57(3).

อัชรา ฦาชาและคณะ. ประสิทธิผลของ โปรแกรมกลุ่มการเสริมสร้างพลังอำนาจ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มี ความผิดปกติทางจิตจาก กลุ่มโรคสมองเสื่อม. วารสารป้องกันการ ฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย. 2563;1(1).

น้ำทิพย์ ยิ้มแย้ม, ยุวดี รอดจากภัย. ผลของ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแล ในการดูแล ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความ ดันโลหิตสูง ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. สำนักงานป้องกันและ ควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2560;24(2).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-03-2024