การศึกษาการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ในเขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • มุธิตา อันทะเกต ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • รัตติกานต์ รักษาภักดี วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คำสำคัญ:

วัยรุ่น, การตั้งครรภ์ซ้ำอายุต่ำกว่า 20 ปี, ความตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ซ้ำในเขตสุขภาพที่ 7 ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2564 ประชากรคือหญิงวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ขึ้นไปจำนวน 463 คน กลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 66 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึก การตรวจสอบ เชิงเนื้อหามีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป นำเสนอด้วยสถิติ พรรณนา ความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานใช้ Logistic Regression ข้อมูลเชิงคุณภาพนำเสนอด้วยวิธีพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านความรู้กับการตั้งครรภ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ย 3.32 (S.D.=0.56) ด้านทัศนคติภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ย 3.28 (S.D.=0.32) ด้านความเชื่อภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ย 3.17 (S.D.=0.42) แปลผลอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการรับ รู้ความสามารถในการควบคุมตนเองภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ย 3.71 (S.D.=0.52) แปลผลอยู่ในระดับดี และมีเพียงปัจจัยด้านความเชื่อ (p-value = 0.017) ที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่าปัจจัยด้านความเชื่อทำให้วัยรุ่นตั้งใจ ตั้งครรภ์ซ้ำเพิ่มขึ้น 3.27 เท่า ดังนั้นควรส่งเสริมการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองป้องกัน เรื่องพลาดและประมาท

References

สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ระดับชาติ พ.ศ. 2560 - 2569 ตามพระราช บัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์; 2560.

Health data center กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 23 พ.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report. php?&cat_id=bebf866fceaef84c4078 965eaf619565&id=4f7d8042fb0a064 b25f29a48f6ccd23f

อังสนา วิศรุตเกษมพงศ์. ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับความตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงตั้ง ครรภ์วัยรุ่น [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

วิเชียร เกตุสิงห์. สถิติวิเคราะห์สำหรับการ วิจัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช; 2538.

Ajzen, I. Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Process 1991: 50; 179 - 211.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทาง พฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์; 2544.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรางกูร. ระเบียบวิธีวิจัย ทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด; 2553.

เกตย์สิรี ศรีวิไล. การตั้งครรภ์ซ้ำในมารดา วัยรุ่น ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งของ ภาคใต้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล และการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3(3): 142 - 150.

สุดกัญญา ปานเจริญ จิราจันทร์ คณฑา และ ภัทรานิษฐ์ จองแก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อความตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงวัยรุ่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษย์วิทยาเชิง พุทธ 2563; 5(10): 232 - 244.

ณฐกร เพ็งพ่วง พิษณุรักษ์ กันทวี และจตุพงศ์ สิงหราไชย. การตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่นในกลุ่ม ชนชาติพันธุ์ม้ง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร 2564; 13(3): 162 - 181

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-03-2024