การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพจังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ , โรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ , ความรอบรู้ด้านสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ จังหวัดมหาสารคาม รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1)การวางแผน 2)การปฏิบัติการ 3)การสะท้อนการปฏิบัติ 4)การปรับปรุงแผนปฏิบัติการ จำนวน 3 วงรอบ และระยะที่ 3 ประเมินผลของการพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูอนามัยโรงเรียน ผู้รับผิดชอบงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานระดับอำเภอและนักเรียนในจังหวัดมหาสารคาม ระยะเวลาตุลาคม 2563 - มิถุนายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา เกิดรูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ จังหวัดมหาสารคาม โดยมีเครือข่ายพี่เลี้ยงสาธารณสุขระดับอำเภอและระดับจังหวัด รวมทั้งเครือข่ายพี่เลี้ยงต้นแบบฯ ในเขตพื้นที่การศึกษา ผลการพัฒนารูปแบบฯ วงรอบที่ 3 ปี 2565 มีโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมพัฒนาเป็นโรงเรียนรอบรู้ฯ จำนวน 265 แห่ง (40.64%) ผ่านการรับรองเป็นโรงเรียนรอบรู้ฯ จากกรมอนามัย ทั้งหมด 108 แห่ง (16.56%) นักเรียนเข้าร่วมประเมินความรอบรู้ NuPETHS เทอม 1 ปี 2565 จำนวน 7,314 คน ผ่านการประเมิน 6,902 คน (94.36%) โดยผ่านเกณฑ์ NuPETHS 61.79% และผ่านเกณฑ์ Super Hero NuPETHS 32.57% การพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นการกระตุ้นให้ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่นักเรียนควบคู่ไปกับการศึกษา ซึ่งส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
References
บังอร กล่ำสุวรรณ์ ชนิดาภา วงษ์รักษา สุวิชชา สังข์ทอง สุภาภรณ์ ศรีสุพรรณ ปาริชาติ ภามนตรี. การพัฒนารูปแบบโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 7. 2564;28(2):95–105.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate School:HLS). 2563 [cited 2022 Jun 15]; Available from: https://hp.anamai.moph.go.th/th/manuals-of-official/209064
สมาคมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพไทย (สครท.). เกณฑ์ประเมินรับรองและคู่มือการการใช้เกณฑ์โรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ; 2564.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานปีงบประมาณ 2560. นนทบุรี; 2560.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มอนามัยเด็กวัยเรียนวัยรุ่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในโรงเรียน [Internet]. 2565 [cited 2565 Jun 30]. Available from: https://gshps-th.com/hps/signin.php
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงสาธารณสุข. HDC : Health DataCenter [Internet]. นนทบุรี. 2565 [cited2022 Jun 6]. Availablefrom: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. “ชุดความรู้ NuPETHS”.บริษัทไทย ปริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด; 2560.8. ทองเทพ ชปศ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติในนักเรียนอายุ 10-14 ปีอำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารสหเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2563;5(1):26-36.
ประไพ กิตติบุญถวัลย์, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ.ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 2565;7(2).
วราพรรณ วงษ์จันทร์ บุศรา ชัยทัศน์.การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการเกิดภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย
กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562;22(3):265-73.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง