การจัดการสิ่งปฏิกูลของผู้ประกอบการรถสูบสิ่งปฏิกูล และ การปนเปื้อนของไข่พยาธิจากตะกอนสิ่งปฏิกูล ในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ ลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
สิ่งปฏิกูล, รถสูบสิ่งปฏิกูล, พยาธิใบไม้ตับบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลของผู้ประกอบการรถสูบสิ่งปฏิกูล ศึกษาการปนเปื้อนของไข่พยาธิ ตัวพยาธิ จากตะกอนสิ่งปฏิกูลที่รถสูบสิ่งปฏิกูลนำไปทิ้งในที่ทางสาธารณะหรือเอกชน ในพื้นที่โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำลำปาว ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้ประกอบกิจการรถสูบสิ่งปฏิกูล ในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำลำปาว จำนวน 14 คน และตะกอนสิ่งปฏิกูลที่รถสูบสิ่งปฏิกูลนำไปทิ้งคัดเลือกแบบเจาะจงในพื้นที่ที่ผู้ประกอบกิจการรถสูบสิ่งปฏิกูลที่สัมภาษณ์นำไปทิ้ง จำนวน 328 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ จำนวน ร้อยละและค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ รูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลและลักษณะสภาพพื้นที่ที่มีการนำตะกอนสิ่งปฏิกูลไป ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบกิจการรถสูบสิ่งปฏิกูล ประกอบอาชีพสูบสิ่งปฏิกูลมานานเฉลี่ย 5 ปี ให้บริการสูบสิ่งปฏิกูลเฉลี่ย 4 เที่ยว/วัน มีรายได้เฉลี่ย 22,143 บาท/เดือน การประกอบอาชีพสูบสิ่งปฏิกูลโดยการเรียนรู้จากญาติร้อยละ 64.3 รูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูล ได้แก่ จัดเตรียมรถและอุปกรณ์ให้พร้อม ให้บริการตามที่ลูกค้าแจ้ง เมื่อสูบสิ่งปฏิกูลเต็มถัง ก็จะนำไปทิ้งในที่สาธารณะหรือที่เอกชน สำหรับการปนเปื้อนของไข่พยาธิ ตัวพยาธิ จากตะกอนสิ่งปฏิกูลที่รถสูบสิ่งปฏิกูลนำไปทิ้ง พบว่าไข่พยาธิร้อยละ 10.4 โดยพบไข่พยาธิตัวตืด ร้อยละ 4.6 พบไข่พยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 3.4 และพยาธิสตรองจิลอยด์ร้อยละ 2.4 ลักษณะพื้นที่ที่ทิ้งสิ่งปฏิกูล จะเป็นบ่อน้ำ ไร่อ้อยและร่องสวน เทสิ่งปฏิกูลมาแล้ว1-2 วัน มีสภาพชื้นแฉะ และมีคราบตะกอนสิ่งปฏิกูลอยู่ทั่วไป
References
กรมอนามัย.กระทรวงสาธารณสุข.การศึกษาสถานการณ์ปัญหาและสุขภาพจากการจัดการสิ่งปฏิกูล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2558
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. เอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการเฝ้าระวังผลกระทบด้านสาธารณสุข และติดตามตรวจสอบด้านสาธารณสุขการเก็บกักน้ำอ่างเก็บน้ำลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์; 2559
โครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma Screening and Care Program; CASCAP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://cascap.kku.ac.th
สุธาสินี คำหลวง ปฤษฐพร กิ่งแก้ว ยศ ตีระวัฒนานนท์. ศึกษาการคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีในประชากรไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2556; 7(3).
สุภาภรณ์ หลักรอด, เมธี ชุ่มศิริและธิดารัตน์ ดำรงสอน. สถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูล ของเทศบาลภาคกลางตะวันตกปี 2549. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2549
สุกานดา พัดพาดี, ปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี, วาสนา ลุนสำโรง, สุพัฒน์ เพ็งพันธ์,ชนะจิตร ปานอู. การศึกษา สถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดกาฬสินธุ์. กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2558
ศูนย์อนามัย กลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560. [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://hhdc.anamai.moph.go.th/th/public-health-act
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง