รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในชุมชนเพื่อการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมสูงอายุอย่างเพียงพอ เขตชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Busara Anuphan โรงพยาบาลขอนแก่น
  • Orawan Srikoen โรงพยาบาลขอนแก่น
  • Siranee Sihapark วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมสูงอายุ, การพัฒนาศักยภาพ, ผู้ดูแลในชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในชุมชนเพื่อการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมสูงอายุอย่างเพียงพอ เขตชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น การวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ (1) ศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหาในปัจจุบัน และ (2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 376 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 10 คน ผู้นำชุมชน 5 คน ผู้จัดการระบบดูแลผู้สูงอายุ 5 คน และหัวหน้าศูนย์แพทย์ 6 แห่งๆละ 1 คน และ (3) ประเมินผล รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 96 คน และผู้สูงอายุสมองเสื่อม จำนวน 60 คน เครื่องมือเป็นแบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย กิจกรรมการอบรมการคัดกรองภาวะ สมองเสื่อม การจัดทำคู่มือในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้ดูแลในชุมชน การออกคัดกรองภาวะสมองเสื่อมผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง การประเมินผลการคัดกรองซ้ำโดยผู้จัดการระบบดูแลผู้สูงอายุ การจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม มีการติดตามการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยผู้จัดการระบบดูแลผู้สูงอายุ และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นระยะ โดยมีข้อเสนอแนะว่า ทุกภาคส่วนควรให้ความร่วมมือ และให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหา และที่สำคัญคือการให้ความสำคัญและเอาใจใส่ผู้สูงอายุในความดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ผลการ นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ พบว่า คะแนนความรู้เฉลี่ยหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p-value<0.001) และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนทัศนคติก่อนและหลังการพัฒนา พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.036)

References

กรมสุขภาพจิต “ไทยอันดับ2” “เด็กรังแกกัน ในโรงเรียน” พบเหยื่อปีละ 6 แสนคน”. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/ news-dmh/view.asp?id=27485

กรมสุขภาพจิต. ก้าวย่างของประเทศไทย สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566]; เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/ news-dmh/view.asp?id=30453

ยุทธพล เดชารัตนชาติ และยิ่งศักดิ์ คชโคตร. รูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 2565; 22(3): 63-80.

นนทรี เมืองศรี และพิศิษฐ์ เสรีธรรมะพิทักษ์. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้าน สาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดนครพนม. วารสารสุขภาพและ สิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566; 8(2): 200-209.

อรวรรณ ศรีเกิน, มิ่งขวัญ ภูหงส์ทอง และ พรรณิภา ไชยรัตน์. การพัฒนาแนวทาง อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในการดูแล ระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ขอนแก่น. 2562; 8(2): 39-54.

ศศินันท์ สายแวว และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร วิชาการสาธารณสุข. 2564; 7(4): 197-212.

Chinman M, McCarthy S, Mitchell- Miland C, Daniels K, Youk A and Edelen M. Early stages of development of a peer specialist fidelity measure. Psychiatr Rehabil J. 2023; 39(3): 256-65. doi: 10.1037/prj0000209.

John M C, & Norman U. Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity. World development 1980; 8(3), 213-235. doi:10.1016/0305-750X(80)90011-X

รุ่งลาวัลย์ รัตนพันธ์. การพัฒนาระบบการ จัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้ สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริม สุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2564; 15(37), 250-261.

อารมณ์ ร่มเย็น. ผลของการพัฒนาศักยภาพ ผู้ดูแลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ จังหวัดชุมพร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2563; 10(1): 307-320.

ไกรษร จุลโยธา. ผลของการพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดบึงกาฬ หลักสูตร ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง (กรมอนามัย). วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565; 8(3): 172-182.

เนติยา แจ่มทิม, สินีพร ยืนยง และปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. ผลของโปรแกรมการเตรียม ความพร้อมในการดูแล ผู้สูงอายุ ตำบล สนามชัย อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2559; 25(3): 108-119.

ขวัญสุมาณา พิณราช และคณะ. การพัฒนา รูปแบบผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีจิต สาธารณะ. รายงานสืบเนื่องประชุมวิชาการ และ นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 12: การวิจัย นวัตกรรมสร้างสรรค์เศรษฐกิจไทย. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. 2561; 455-46

มานี หาทรัพย์, มงคลชัย หาทรัพย์, ทัศนีย์ นะแส.ความรู้ความสามารถของ ผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้สูงอายุกระดูก สะโพกหักทีได้รับการผ่าตัดรักษาที่ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสาร พยาบาลสงขลานครินทร์ 2557; 34(2): 53-66.

บุษบา วงษ์ชวลิตกุล และ คณะ. ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และ สถานสงเคราะห์คนชรา บ้านธรรมปกรณ์ วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ บริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษา แห่งประเทศไทย. 2559; 5(2): 74-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2023