ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ ประสมรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • ละอองดาว ศรีวะรมย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • บรรจบ แสนสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • สวิณีย์ ทองแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมด้านสุขภาพ, โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบสองกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. และความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมด้านสุขภาพ และผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ทำการศึกษาในกลุ่ม อสม. ทั้งหมดในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งนางโอก อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร จำนวน 112 คน และกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนางโอก โดยคำนวณจากสูตรเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ได้จำนวนทั้งสิ้น 56 คน จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างด้วยการจับฉลาก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยสถิติทดสอบ Paired Sample T-test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มเสี่ยงเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.80 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 55.40 มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 46.57 ปี (S.D.= 6.50) มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 96.40 มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 100 ภายหลังการทดลอง อสม. มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001) ขณะที่กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมด้านสุขภาพ และผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ ทั้งในด้านค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และค่าระดับน้ำตาลในเลือด ที่ดีขึ้นทุกด้าน (p-value<.001) ดังนั้น จึงควรส่งเสริมการนำใช้โปรแกรมดังกล่าวเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพที่ดีขึ้นแก่ชุมชน

References

สหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ. สหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติเรียกร้องทั่วโลกเพิ่มงบประมาณและยกระดับการฝึกอบรมพยาบาล เพื่อช่วยรับมือวิกฤตโรคเบาหวานทั่วโลก. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://en.prnasia.com/releases/apac/52201-0.shtml

กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2562. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

Knowler W-C, Barrett-Connor E, Fowler S-E, Hamman R-F, Lachin J-M, Walker E-A, et al. Reduction in the incidence of type 2 diabetes with lifestyle intervention or metformin. N Engl J Med. 2002; 346(6): 393-403.

กระทรวงสาธารณสุข. Health Data Center. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี ประจำปี พ.ศ. 2564. ยโสธร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร; 2564

สำนักโรคไม่ติดต่อ. คู่มือการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยยึดชุมชนเป็นฐาน. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

Sun X, Shi Y, Zeng Q, Wang Y, Du W, Wei N, et al. Determinants of health literacy and health behavior regarding infectious respiratory diseases: a pathway model. BMC Public Health. 2013; 13(261): 1-8.

ธัญชนก ขุมทอง, วิราภรณ์ โพธิศิริ, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2559; 3(6): 67-85.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือแนวทางการพัฒนาแกนนำสุขภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รอบรู้ด้านสุขภาพ. นนทุบรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. รายงานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง การปฏิรูปความรอบรู้และการสื่อสารสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร; 2559.

มินตรา สาระรักษ์. การเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). วารสารวิชาการ มอบ. 2553; 12: 39-48.

กรมสนับสนุนสุขภาพ. หลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เรื่อง การเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้วเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน โดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา และคู่มือการใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา สำหรับ อสม. คัดกรองโรคเบาหวาน. นนทบุรี: กรมสนับสนุนสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

คณะทำงานขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านระบบบริการ. แนวทางการดำเนินงาน Primary Care Cluster สำหรับหน่วยบริการ. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

กัญจน์ณัฎฐ์ เจริญชัย. ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนักบริบาลผู้ป่วยเบาหวาน DM Excellence Care Giver จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 5(1): 133-151.

ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์, นฤมล เปรมาสวัสด์ิ, อารีย์รัตน์ เปสูงเนิน, นงณภัทร รุ่งเนย, ผุสดี ด่านกุล. แนวทางการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2563; 30(3): 74-89.

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานของคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563; 29(4): 618-624.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill. 1971

กนกฉัตร สมชัย, นัฐพล ศรีทะวัน, วชิรา คำย้าว, ประเสริฐ ประสมรักษ์, ทนงศักดิ์ มูลจันดา, ขนิษฐา ตะลุตะกำ. ผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพ อสม. รอบรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ชุมชนบ้านสว่างเหนือ ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2565; 15: 13-27.

อุไรรัตน์ คูหะมณี, ยุวดี รอดจากภัย, นิภา มหารัชพงศ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันโรคเรื้อรัง. วารสารกรมการแพทย์. 2563; 45: 137-142

อรวรรณ นามมนตรี. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy). วารสารทันตาภิบาล. 2561; 29: 122-128

ประเวช ชุ่มเกษรกูลกิจ, นิรันตา ไชยพาน, สุจิตรา บุญกล้า, จักรกฤษณ์ พลราชม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพของประชาชนไทย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2564; 15: 25-36.

Liu Y-B, Liu L, Li Y-F, Chen Y-L. Relationship between Health Literacy, Health-Related Behaviors and Health Status: A Survey of Elderly Chinese. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2015; 12: 9714-9725.

น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, รัชนีกร ปล้องประภา. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ของกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2555; 30(2): 40-47.

สุรีย์ ทั่งทอง, สุมลรัตน์ ขนอม. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการลดปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย. Journal of Health Sciences and Pedagogy. 2564; 1(2): 1-15.

Riangkam C, Wattanakitkrileart D, Ketcham A, Sriwijitkamol A. Health Literacy, Self-Efficacy, Age and Visual Acuity Predicting on Self-Care Behaviors in Patients with Type 2 Diabetes. J Nurs sci. 2016; 34(4): 35-46.

Nutbeam D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International. 2000; 15(3): 259-267.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-03-2024