ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากกับภาวะสุขภาพช่องปาก ของหญิงตั้งครรภ์ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สันทนา หมั่นพลศรี โรงพยาบาลหนองคาย
  • นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก, ภาวะสุขภาพช่องปาก, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากขณะตั้งครรภ์ มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากกับภาวะสุขภาพ ช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ จังหวัดหนองคาย ประชากรคือหญิงตั้งครรภ์ในแผนกสูตินรีเวชโรงพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดหนองคาย ขนาดตัวอย่าง 503 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ช่องปาก และแบบเก็บข้อมูลภาวะสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุลอจีสติก ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์มีภาวะสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีร้อยละ 86.48 ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี ได้แก่ ระดับการศึกษา (OR adj 41.99, 95% CI: 13.74 - 128.36, p-value= <0.001 ) กลุ่มรายได้ต่ำกว่า 6,000 บาท (ORadj 20.88, 95% CI:2.19 - 199.00, p-value=0.002) ทักษะความรู้ความเข้าใจ (OR adj 5.71, 95% CI:1.45 - 22.54, p-value= 0.012) ทักษะการสื่อสาร (OR adj 5.25, 95% CI: 1.78 - 15.46, p-value=0.003) และทักษะการตัดสินใจ (OR adj 14.70, 95% CI: 3.48- 62.09, p-value=<0.001) สรุปผลและข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้ ควรที่จะนำปัจจัยด้านการศึกษา รายได้ต่อเดือน ทักษะความรู้ความเข้าใจ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการตัดสินใจ มาใช้ในการวางแผนเพื่อออกแบบ กิจกรรมในการส่งเสริมและพัฒนางานด้านทันตสาธารณสุขในหญิงตั้งครรภ์

References

สุอัมพร ค้าทวี. สภาวะสุขภาพช่องปากที่ เกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ของหญิงตั้งครรภ์. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563; 39(2): 154-62.

กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐาน การรับบริการทันตกรรมในกลุ่มหญิงตั้ง ครรภ์ (อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https:// hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/ page.php?cat_id=fc73b811

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนการบริการ สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริม สร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 7-14 ปีและกลุ่มประชาชนที่มี อายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุง ปี 2561. นนทบุรี: กอง สุขศึกษา กรมสนับสนุนการบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

Institute of Medicine. Health literacy. Washington DC: National Academies Press; 2004.

Baskaradoss JK. Relationship between oral health literacy and oral health status. BMCoral health. 2018; 18(1): 172.

ศุภศิลป์ ดีรักษา. ผลของโปรแกรมความ รอบรู้ด้านทันตสุขภาพขั้นพื้นฐานเพื่อ ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ของผู้ใหญ่ที่เป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่เขตสุขภาพ ที่ 7. วารสารสาธารณสุขชุมชน. 2564; 3(1): 65-76.

Muralidharan S, Mallaiah P, Garale S, Acharya A. Oral health literacy and oral health knowledge among 2,263 frst-time pregnant Urban Women: A cross-sectional questionnaire study. J Contemp Dent Pract. 2019; 20(9): 1029-32

Muralidharan S, Mallaiah P, Garale S, Acharya A. Oral health literacy and oral health knowledge among 2,263 frst-time pregnant Urban Women: A cross-sectional questionnaire study. J Contemp Dent Pract. 2019; 20(9): 1029-32.

Chaichit R, Deeraksa S. The association between functional oral health literacy and periodontal disease among adults with type 2 diabetes mellitus in the northeast region of Thailand. J Int Oral Health. 2020; 12(5): 432.

Muralidharan S, Mallaiah P, Garale S, Acharya A. Oral health literacy and oral health knowledge among 2,263 first-time pregnant Urban Women: A cross-sectional questionnaire study. J Contemp Dent Pract. 2019; 20(9): 1029-32.

Sarhan MBA, Fujii Y, Kiriya J, Fujiya R, Giacaman R, Kitamura A, et al. Exploring health literacy and its associated factors among Palestinian universitystudents: a cross-sectional study. Health Promotion International. 2019; 36(3), 854-65.

Maybury C, Horowitz AM, La ToucheHoward S, Child W, Battanni K, Qi Wang M. Oral Health Literacy and Dental Care among Low-Income Pregnant Women. American journal of health behavior. 2019; 43(3), 556-68.

Vann WF, Lee JY, Baker D, Divaris K. Oral health literacy among female caregivers: impact on oral health outcomes in early childhood. Journal of dental research. 2010; 89(12): 1395-1400.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กรุงเทพมหานคร. แนวทางเวชปฏิบัติ ทางทันตกรรมสำหรับคลินิกทันตกรรม สำนักอนามัย. กรุงเทพฯ: ธนพรพานิช; 2563.

จุฬาภรณ์ โสตะ. แนวคิดทฤษฎีและการ ประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรม สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

Koster EA, Philbert D, Van De Garde EMW, Bouvy ML. Health literacy of patients admitted for elective surgery. Journal of Public Health. 2017; 25: 181-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-03-2024