ทัศนคติและความรู้เกี่ยวกับกัญชาในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง

ผู้แต่ง

  • Thanamet thaenkham คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Bundit Chumworathayi Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Poochit Dabpookhiew โรงพยาบาลหนองหาน
  • Panida Pittayakittiwong โรงพยาบาลพล
  • Thanapon Srivong โรงพยาบาลสิริญธร
  • Sathita Ruengsiriphakakul Yangsisurat Hospital
  • Kanyapak Silarak 7Phra Achan Fan Ajaro Hospital
  • Wijitra Sena Khon Kaen University
  • Khachornsak Seevathee Donchan Hospital
  • Pattapong Kessomboon Faculty of Medicine, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

ทัศนคติเกี่ยวกับกัญชา, ความรู้เกี่ยวกับกัญชา, กัญชา, ผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยประมาณ 56.8 ล้านคนทั่วโลกต้องการการดูแลแบบประคับประคอง จำนวน 25.7 ล้านคนอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต เป็นโรคมะเร็งสูงถึง 34% การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและความรู้เกี่ยวกับกัญชาของผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาแบบเฉพาะกรณี เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันให้รักษาแบบประคับประคอง เพศชายหรือเพศหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป รับการรักษาในโรงพยาบาล 6 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบ Thematic Analysis ผลการศึกษาสรุปได้เป็น 5 ประเด็นหลักคือ 1) ทัศนคติต่อนโยบายกัญชา เป็นประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็ง ถ้าไม่ได้ใช้กัญชาก็ไม่รู้จะรักษาอย่างไร เห็นด้วยให้ปลูกกัญชาไว้ใช้เอง ไม่อยากให้ยกเลิกไป 2) ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของกัญชา ใช้รักษาโรคมะเร็ง บรรเทาอาการปวด ช่วยให้นอนหลับ 3) ความรู้เกี่ยวกับการปลูกกัญชา เริ่มตั้งแต่เพาะเมล็ด วิธีทำคือใส่กระดาษทิชชู่ 2-3 ชั้นเอาเมล็ดกัญชาโรยๆ ปิดทับด้วยกระดาษทิชชู่อีกรอบ พรมๆ น้ำ 2-3 วันก็จะงอกเหมือนถั่วงอก แล้วนำลงชำในดิน 4) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลกัญชา ใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ต้นกัญชาจะเจริญเติบโตดี กัญชาไม่ชอบน้ำ 5) ความรู้เกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวกัญชา เก็บกัญชาเมื่อช่อดอกแก่จัด นำไปตากในร่มห้ามตากกลางแจ้งที่แดดแรงๆ สรุปผลการศึกษาผู้ป่วยมีความรู้และเห็นว่ากัญชามีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยมะเร็งต้องการอนุญาตให้ปลูกกัญชาต่อไปได้ ข้อเสนอแนะให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน ถ้านำกัญชาเข้าไปเป็นยาเสพติด เพราะจะมีผู้ป่วยที่ เข้าไม่ถึงการรักษาด้วยกัญชา คุณภาพชีวิตและความหวังที่จะมีชีวิตรอดเพราะกัญชาจะลดลง

References

World Health Organization (WHO). Palliative care. [internet]. 2020. [cite 2023 June 11]. Available from: https://www.who.int/news-room/ fact-sheets/detail/palliative-care

International Agency for Research on Cancer. Thailand Source: Globo can. [internet]. 2020. [cite 2023 June 15]. Available from: https://gco.iarc.fr/ today/data/factsheets/populations/ 764-thailand-fact-sheets.pdf

Wikipedia.org. Cannabis in Thailand. [internet]. 2022. [cite 2023 June 15]. Available from: https://en.wikipedia. org/wiki/Cannabis_in_Thailand

วิธวินท์ ฝักเจริญผล และวรยศ ดาราสว่าง. ผลการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ ต่ออาการไม่สุขสบาย และคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะประคับประคอง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2566; 38(1): 53-62.

ปิยวรรณ เหลืองจิรโณทัย, ศิริพร ปาละวงศ์ และคณะ. ประสิทธิผลของสารสกัดกัญชา คลินิกกัญชาทาง การแพทย์ โรงพยาบาล ลำปาง. วารสารการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก. 2564; 19(1): 19-33.

ปรเมษฐ์ กิ่งโก้. การศึกษาติดตามลักษณะ การใช้และคุณภาพชีวิตของผู้ใช้น้ำมัน กัญชาขมิ้นทองในผู้ป่วย รับบริการคลินิก กัญชาทางการแพทย์แผนไทยในสถาน พยาบาล เขตสุขภาพที่ 8. วารสารการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2566; 21(1): 102-118.

ธนเมศวร์ แท่นคำ. ผลทางคลินิกและความ ปลอดภัยของกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วย มะเร็ง. (วิทยานิพนธ์) ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2566. 348 หน้า.

ปรีดาภรณ์ สายจันเกตุ, และคณะ. ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการ รักษาโรคของประชาชน ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก. 2563; 18(3): 595-603.

รัตติยา แดนดงยิ่ง และกรแก้ว จันทภาษา. พฤติกรรมและเหตุผลการใช้กัญชาของ ประชาชน: กรณีศึกษา ในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2565; 14(3): 594-603.

ปาณิสรา เศวตโชติธนากร, รังสรรค์ สิงหเลิศ และคณะ. ความรู้ ทัศนคติและการใช้กัญชา ในพื้นที่อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 2565; 2(5): 481-498.

ณัฐิกา วรรณแก้ว. ทัศนคติต่อการรักษา ด้วยน้ำมันกัญชาของผู้ป่วยมะเร็งในคลินิก กัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก. 2565; 20(2): 405-414.

พรทิพย์ พาโน และกิติศักดิ์ รุจิกาญจนรัตน์. ทัศนคติและมุมมองการใช้กัญชาเพื่อสุขภาพ ของประชาชน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัด เพชรบุรี. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2566; 10(1): 1-11.

นันทนา มีศิริพันธุ์, และคณะ. ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของสารสกัดกัญชา ต่อเซลล์มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และ ทวารหนัก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และ มะเร็งปากมดลูก. วารสารโรคมะเร็ง. 2565; 42(3): 146-155.

สุดารัตน์ คําจุลลา และศิริพักตร์ ทองขันธ์. ประสิทธิผลของสารสกัดกัญชาสูตร Tetrahydrocannabinol (THC) 1.7% คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาล มุกดาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ทางสุขภาพ. 2565; 3(3): 49-60.

รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ, และคณะ. ความรู้ และทัศนคติที่มีต่อกัญชาทางการแพทย์ ของประชาชนตําบลท่าแร่ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารกฎหมายและ นโยบายสาธารณสุข. 2564; 7(1): 69-86.

วลีรัตน์ ไกรโกศล, และคณะ. ผลและ ความปลอดภัยของยาน้ำมันกัญชาหยอด ใต้ลิ้นสูตร THC 1.7% ในผู้ป่วยมะเร็ง ระยะท้ายที่มารับบริการที่คลินิกกัญชา ทางการแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยา อภัยภูเบศร. วารสารกรมการแพทย์. 2564; 46(3): 50-59.

ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์. ประสบการณ์ ระยะแรกของการใช้สารสกัดกัญชาทาง การแพทย์ในผู้ป่วยประคับประคอง โรงพยาบาลลำพูน. วารสารระบบบริการ ปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2563; 3(1): 29-35.

Thanamet Thaenkham, et. al. The pain management experience of patients with palliative cancer using cannabis in the northeastern part of Thailand. International Journal of Engineering and Science. 2023; 13(7): 34-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2023