ประสิทธิผลของการใช้ยาขับเหล็ก Deferasirox ในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย และไม่ใช่ธาลัสซีเมีย ที่รับเลือดประจำในโรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Monthana Juntharaniyom โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคธาลัสซีเมีย, ภาวะเหล็กเกิน, ยาขับเหล็ก, Deferasirox

บทคัดย่อ

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือ โรคโลหิตจางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของการสร้างฮีโมโกลบิน ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงต้องรับเลือดประจำสม่ำเสมอร่วมกับการให้ยาขับเหล็กการศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective cohort study) เพื่อติดตามผลการใช้ยาในแง่ขนาดของยา การเปลี่ยนแปลง serum ferritin และอาการข้างเคียงหลังจากการใช้ยา เก็บข้อมูลจากแฟ้มผู้ป่วยเด็ก จำนวน 25 ราย ที่รับเลือดสม่ำเสมอ และรับยาขับเหล็ก Deferasirox ต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ที่คลินิกธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลขอนแก่น ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ paired t-test และ Wilcoxon signed rank test

          การศึกษาพบว่าผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่มีความรุนแรงสามารถใช้ยา Deferasirox เป็นยาขับเหล็กเพียงตัวเดียว ในขณะที่ผู้ป่วยรับเลือดสม่ำเสมอทุก 3-4 สัปดาห์ สามารถรักษาระดับค่าเฉลี่ย serum ferritin เริ่มต้น และสิ้นสุดการรักษา 1 ปี เท่ากับ 1,359 ng/mL และ1,593 ng/mL สำหรับผู้ป่วยโรคเลือดจางเรื้อรังอื่นๆ เท่ากับ 1,092 ng/mL และ1,309 ng/mL ตามลำดับ เมื่อติดตามอาการข้างเคียงของยาที่อาจส่งผลต่อตับและไต พบว่าค่าเฉลี่ย serum AST, ALT และcreatinine ก่อนกินยาของผู้ป่วย เท่ากับ 46.77 (U/L), 30.72 (U/L) และ0.31 (mg/dL) และหลังจากกินยา 12 เดือน เท่ากับ 48.0 (U/L), 39.5 (U/L) และ0.35 (mg/dL) ตามลำดับ และพบว่าขนาดยา 20-40 mg/kg/day สามารถขับเหล็กได้ดีกว่าขนาดต่ำกว่า 20 mg/kg/day โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเมื่อติดตามผู้ป่วยครบ 10 ปี สรุปคือ ยา Deferasirox สามารถใช้เป็นยาขับเหล็กในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงและโรคเลือดจางเรื้อรังอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขนาดยาที่เหมาะสมคือ 20-40 mg/kg/day ซึ่งขนาดของยามีความสัมพันธ์กับระดับ serum ferritin และผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางประกอบการรักษาผู้ป่วยในกลุ่มที่มีภาวะเหล็กเกินเรื้อรังต่อไป

References

Cappellini MD, Farmakis D, Porter J, Taher A. Guidelines for the management of transfusion dependent thalassemia (TDT) 4th Publishers Thalassaemia International Federation; 2021.

Cappellini MD, Porter J, El-Beshlawy A, Li C-K, Seymour JF, Elalfy M, et al. Tailoring iron chelation by iron intake and serum ferritin: The prospective EPIC study of Deferaxirox in 1744 patients with transfusion-dependent anemias. [Internet]. Haematologica. 2010; 95(4) : 557-566. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก:https://doi.org/10.3324/haematol.2009.014696

Ejaz Ms, Baloch S, Arif F. Efficacy and adverse effects of oral chelating therapy (deferasirox) in multi-transfused Pakistani children with β-thalassemia major. Pak J Med Sci. 2015; 31(3) : 621-625.

Hoffbrand AV, Taher A, Cappellini MD. How I treat transfusional iron overload. [Internet]. Blood. 2012; 120(8) : 3657-3669. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก:https://doi.org/10.1182/blood-2012-05-370098

Nolte F, Höchsmann B, Giagonnidis A, Lübbert M. Result from a 1-year, open-level, single arm, multi-center trial evaluation the efficacy and safety of oral deferasirox in patients diagnosed with low and int-1 risk. Annals of Hematology. 2013; 92 : 191-198.

Cappellini MD, Cohem A, Eleftheriou A, Piga A, Porter J, Taher A. Guidelines for the clinical management of thalassemia. 2nd Nicosia; 2007.

Karimi M, Azarkeivan A, Zareifar S, Cohan N, Bordbar MR, Haghpanah S. Iranian experience of deferasirox (Exjade® ) in transfusion-dependent patients with iron overload : what is the most effective dose based on serum ferritin level? [Internet]. Hematology. 2012; 17 (6) : 367-371. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566]; เข้าถึงได้จาก:https://doi.org/10.1179/10245332127.000000000143

Taher A, Coppellini MD, Vichinsky E, Galanello R, Piga A, Lawniczek T, et al. Efficacy and safty of deferasirox dose of > 30 mg/kg/day in patients with transfusion-dependent anemia and iron overload. Br J Haematol. 2009; 147 : 752-759.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2023