การพัฒนาแนวทางดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุรา กรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล สู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อรนุช ไชยสันต์ โรงพยาบาลยางสีสุราช จ.มหาสารคาม
  • กาญจนา จันทะนุย โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • ภิรญา พินิจกลาง โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • ประครอง ประกิระนะ โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ภาวะถอนพิษสุรา, แนวทางการดูแล, ผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวทางดูแลผู้ป่วยที่มี ภาวะถอนพิษสุรากรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง กลุ่มที่ร่วมพัฒนา ได้แก่ แพทย์ พยาบาลเภสัชกร พยาบาลสุขภาพจิต พยาบาลบำบัดยาเสพติด ตัวแทนผู้ป่วยและ ญาติ รวม 35 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุรา จำนวน 210 ราย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินอาการขาดสุรา CIWA-Ar. Risk report แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกต และเวชระเบียน ผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุราที่เหมาะสมได้แก่ 1) พัฒนาความรู้บุคคลากรเกี่ยวกับทักษะการประเมิน CIWA-Ar. 2) จัดทำแนวทางคัดกรองพร้อม กำหนดแนวทางการดูแลตามระดับความรุนแรง 3 เสริมความรู้แก่ผู้ดูแลหลักในครอบครัว 4) พัฒนา ระบบการส่งต่อข้อมูลไปยังคลินิกเลิกสุราและชุมชน 5) ร่วมกับคลินิกเลิกสุราออกแบบการดูแล ต่อเนื่องในชุมชนแบบสติบำบัดร่วมกับครอบครัวบำบัดโดยทีมสหวิชาชีพผ่าน Lineกลุ่ม และ โทรศัพท์เป็นรายบุคคล ประเมินผลพบว่า ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะถอนพิษสุรา 75,95,100% มีภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 18, 13.33 และ 5.30 ตามลำดับ กลับมารักษาซ้ำภายใน s 4 เดือน ร้อยละ 8.6, 8.3 และ 4.0 ตามลำดับ ปีพ.ศ.2561-2563 ร้อยละ 75, 95 และ 100 ตามลำดับ เข้าสู่กระบวนการคลินิกเลิกสุราและการดูแลต่อเนื่อง ดื่มสุราลดลงทุกรายและสามารถ เลิกสุราได้ ร้อยละ 19.05 สรุป ผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุราพบภาวะแทรกซ้อนจากอาการถอนพิษสุราได้บ่อยครั้ง การที่ได้พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยส่งผลให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยหายทุเลาสามารถ ลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้ ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล มีการส่งต่อข้อมูลเพื่อเข้ารับ การบำบัดในคลินิกเลิกสุราและการส่งต่อสู่ชุมชนเพื่อการดูแลต่อเนื่อง

References

ประไพรัตน์ แก้วศิริ, ศิริพร เหมะธุลิน, พิมลพรรณ อันสุข, พรรณยุพา เนาว์ศรี สอน. การส่งเสริมสุขภาพแก่สตรีตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอด ก่อนกำหนด. วารสารศรีนครินทร์ 2563; 35(2): 238-245.

ฐิรวรรณ บัวแย้ม, เพียงบุหลัน ยาปาน, สุจิตตรา พงศ์ประสบชัย. การพยาบาลสตรี ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บคลอดก่อน กำหนด. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2562; 25(3): 243-254.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ ประชาชน Pretern Labor [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2564]; เข้าถึงได้ จาก https://hp.anamai.moph.go.th/th/ mch-emag/203673#.

กรรณิกา ฉายยิ่งเชี่ยว, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บ ครรภ์คลอดก่อนกำหนดในมารดาอายุมาก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 26(3): 196-207.

ธรรมวรรณ์ บูรณสวรรค์, สายใย ก้อนคำ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่าง ต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน สำหรับ หญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อน กำหนด ในโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัด อุดรธานี. วารสารการพยาบาลสุขภาพและ การศึกษา 2564; 4(3): 50-56.

เพียงขวัญ ภูทอง, พีรนันท์ วิศาลสกุลวงษ์. การดูแลแบบต่อเนื่องเพื่อป้องกันการคลอด ก่อนกำหนด. วารสารเกื้อการุณย์ 2562; 26(2): 156-168.

มานิตา สิริวิบูลย์ฤทธิ์. การพัฒนารูปแบบ การสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพใน การป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิง ตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาล พระนารายณ์มหาราช. วารสารสุขภาพและ สิ่งแวดล้อมศึกษา 2566; 8(2): 371-382.

อุมาภรณ์ น้อยศิริ, สุปราณี อัทธเสรี, ยุพิน จันทรัคคะ, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร. แรงจูงใจ ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาล 2544; 50(1): 27-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-03-2024