อุบัติเหตุในเด็กและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ของเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Apiwan Sirikanerat โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุในเด็ก, การเสียชีวิต, เด็ก, โรงพยาบาลขอนแก่น

บทคัดย่อ

การบาดเจ็บในเด็ก เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลก และในประเทศไทย การบาดเจ็บเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา อุบัติการณ์ ในเด็กอายุ 0-15 ปี ที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลขอนแก่น และหาปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต โดยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยใช้ฐานข้อมูลจาก trauma registry ในปี พ.ศ. 2560-2564 มาวิเคราะห์อุบัติการณ์ สาเหตุ ลักษณะและผลของอุบัติเหตุโดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่อการเสียชีวิต ด้วย Multiple Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2564 มีผู้ป่วยเด็ก 17,029 คน เสียชีวิต 78 คน คิดเป็นร้อยละ 0.46 สาเหตุการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุดถึงร้อยละ 78.2 ช่วงอายุ ที่ตายมากที่สุดคือ 6-15 ปี อวัยวะที่บาดเจ็บและทำให้ถึงแก่ความตายมากที่สุดคือที่ศีรษะและคอ จุดเกิดเหตุที่มากที่สุดคือถนนหรือทางหลวง และช่วงเวลาที่เกิดเหตุแล้วเสียชีวิตมากที่สุดคือ 16:01-24:00 น. ด้านการปฐมพยาบาลก่อนการนำส่ง พบว่า ร้อยละ 93.6 ได้รับการดูแลการหายใจ ร้อยละ 75.6 มีการห้ามเลือด ร้อยละ 80.8 มีการยึดตรึงกระดูกสันหลังส่วนคอ ร้อยละ 60.3 มีการยึดตรึงกระดูกรยางค์ และ ร้อยละ 88.5 มีการให้สารน้ำทางเส้นเลือด ด้านการประเมิน ระดับความรุนแรง พบว่ากรณีที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะมี ค่า GSC อยู่ที่ 0-8, ISS อยู่ที่ 25-49 และ RTS อยู่ที่ 0-2.99 ตามลำดับ และพบว่ามีเพียง 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต ได้แก่ ช่วงเวลาเกิดเหตุ 0.01-8.00 น. และผู้ที่มีเลือดออกจนได้รับการห้ามเลือด ดังนั้นจึงควรให้การดูแล ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัจจัยดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

References

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การ เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ (Injury) ของเด็ก ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2558-2562. นนทบุรี; 2565.

กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. จดหมายข่าว สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต].นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.niems.go.th/1/Upload/migrate/ File/256103221110087879_TOQBStX AB8C3NZcF.pdf

Natthira Daengpruan, Witaya Chadbunchachai. 25 YEARS ANNIVERSARY TRAUMA REGISTRY 1997-2021. Trauma and Critical Care Center khonkaen; 2022.

Hsieh, F.Y.,Block, D.A., and Larsen, M.D. A Simple Method of Sample Size Calculation for Linear and Logistic Regression. Statistics in Medicine,1998;17:1623-34.

Theodorou CM, Galganski LA, Jurkovich GJ, Farmer DL, Hirose S, Stephenson JT. Causes of early mortality in pediatric trauma patients. J Trauma Acute Care Surg. 2021; 90(3): 574-81.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต].นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/ uploads/2022/11/Hstatistic64.pdf

พยอม อุดมคำ. อุบัติการณ์ สาเหตุและ ความสัมพันธ์ของอุบัติเหตุกับวัยและเพศ ในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. ศรินครินทร์เวชสาร 2559; 23(2):192-9

Plitponkarnpim A, Andersson R, Conner K, Xiang H, Smith G. The relationship of provincial economic level and child injury mortality in Thailand: a cross-sectional analysis in a middle income country [Internet]. Texas: Children at risk Institute; 2012 [Cited 2022 December 15]. Available from: http://digitalcommons. library.tmc.edu/childrenatrisk/vol3/ iss2/11

Hefny AF, Idris K, Eid HO, Abu- Zidan FM. Factors affecting mortality of critical care trauma patients. Afr Health Sci. 2013; 13(3): 731-5.

Schoeneberg C, Schilling M, Keitel J, Burggraf M, Hussmann B, Lendemans S. Mortality in severely injured children: experiences of a German level 1 trauma center (2002 - 2011). BMC Pediatric. 2014; 14: 194

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2023