การพัฒนารูปแบบการให้บริการเพื่อการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • มณฑิรา บุทเสน โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • บูรณศักดิ์ วงศ์ศิริภักดิ์ดี โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • ทิพย์ภาภรณ์ แย้มใส โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • พิศตะวัน สุวจันทร์ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการให้บริการ, หญิงตั้งครรภ์, การส่งเสริมการดูแลตนเอง, ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ 3) เพื่อประเมินผลของการพัฒนารูปแบบ ประชากรบุคลากรสาธารณสุขในคลินิกฝากครรภ์ 9 คน และกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเจาะจงเป็นหญิง ตั้งครรภ์เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด 33 คน ดำเนินการเดือนตุลาคม 2564 ถึง สิงหาคม 2565 การวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ และระยะที่ 3 การประเมินผลรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการให้บริการ แบบบันทึกใน การดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ "มาป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดกันเถอะ" แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามความรู้และทัศนคติ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณโดยค่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนน ความรู้และทัศนคติโดยใช้สถิติ Paired t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การตีความและสรุปความ ผลการศึกษา พบปัญหา ได้แก่ ระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ยังไม่ชัดเจน และหญิงตั้งครรภ์ ยังขาดความรู้ และแนวทางการดูแลตนเอง นำปัญหาพบมาสู่การพัฒนารูปแบบและจ ากการทดลอง ใช้รูปแบบ พบว่า ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้และทัศนคติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ความพึงพอใจในระดับดีทุกด้าน และหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนดลดลง ซึ่งผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขที่ร้อยละ 7.00 ดังนั้น ควรมีการนำรูปแบบที่มีการ พัฒนามาปรับใช้ในคลินิกฝากครรภ์ เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองให้สามารถดูแลตนเองที่บ้านได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสมและป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

References

ประไพรัตน์ แก้วศิริ, ศิริพร เหมะธุลิน, พิมลพรรณ อันสุข, พรรณยุพา เนาว์ศรี สอน. การส่งเสริมสุขภาพแก่สตรีตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอด ก่อนกำหนด. วารสารศรีนครินทร์ 2563; 35(2):238-245.

ฐิรวรรณ บัวแย้ม, เพียงบุหลัน ยาปาน, สุจิตตรา พงศ์ประสบชัย. การพยาบาลสตรี ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บคลอดก่อน กำหนด. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2562; 25(3): 243-254.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ ประชาชน Pretern Labor [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2564]; เข้าถึงได้ จาก https:/hp.anamai.moph.go.th/th mch-emag/203673#.

กรรณิกา ฉายยิ่งเชี่ยว, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, สุพรรณี ฮี้งปัญสัตวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บ ครรภ์คลอดก่อนกำหนดในมารดาอายุมาก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 26(3): 196-207.

ธรรมวรรณ์ บูรณสวรรค์, สายใย ก้อนคำ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่าง ต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน สำหรับ หญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อน กำหนด ในโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัด อุดรธานี. วารสารการพยาบาลสุขภาพและ การศึกษา 2564; 4(3): 50-56.

เพียงขวัญ ภูทอง, พีรนันท์ วิศาลสกุลวงษ์. การดูแลแบบต่อเนื่องเพื่อป้องกันการคลอด ก่อนกำหนด. วารสารเกื้อการุณย์ 2562; 26(2): 156-168.

มานิตา สิริวิบูลย์ฤทธิ์. การพัฒนารูปแบบ การสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพใน การป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิง ตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาล พระนารายณ์มหาราช. วารสารสุขภาพและ สิ่งแวดล้อมศึกษา 2566; 8(2): 371-382.

อุมาภรณ์ น้อยศิริ, สุปราณี อัทธเสรี่, ยุพิน จันทรัคคะ, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร. แรงจูงใจ ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาล 2544; 50(1): 27-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-03-2024