การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยบริการปฐมภูมิ และภาคีเครือข่ายอำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ฺBundit Pituk โรงพยาบาลชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ดูแล, จิตเภท, ชุมชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยบริการปฐมภูมิและภาคีเครือข่ายในอำเภอชื่นชม ดำเนินการระหว่างสิงหาคม 2564 - กันยายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทีมสหวิชาชีพ และกลุ่มผู้ป่วยจิตเภท/ผู้ดูแล รวม 234 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) สนทนากลุ่ม 2) แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ 3) แบบประเมินทักษะการดูแล 4) แบบสอบถามการมีส่วนร่วม และ 5) แบบติดตามผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน 9 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired Sample T-Test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่าระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของเครือข่าย 2) ระบบการดูแลเฝ้าระวังในชุมชน “โครงการชื่นชมตุ้มโฮมหมู่เฮาเข้าถึงจิตอยู่อย่างสุขใจ” 3) พัฒนาศักยภาพบุคลากร ผู้ดูแลในครอบครัวและภาคีเครือข่าย4) จัดทำมาตรฐานแนวทางปฏิบัติ คู่มือ แนวทางติดตามดูแลที่ใช้ร่วมกันทั้งเครือข่าย 5) พัฒนาระบบสารสนเทศเชื่อมโยงจาก รพ. จนถึงชุมชน 6) ถอดบทเรียน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสะท้อนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ภายหลังนำระบบไปใช้ พบว่า การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.44 คะแนน (SD=0.54) ผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายมีความรู้เพิ่มขึ้นและทัศนคติเพิ่มขึ้นทุกด้าน ค่าเฉลี่ย 4.36คะแนน (SD=0.40) ภายหลังดำเนินการผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายมีทักษะการดูแลมากกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลลัพธ์การดูแลมีแนวโน้มดีขึ้นโดยพบว่าการขาดนัดลดลงเป็นร้อยละ 17.99 การกำเริบลดลงเป็นร้อยละ 15.83 การส่งต่อเพื่อรักษาโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ลดลงเป็น 12.95 และหลังดำเนินการไม่มีผู้ป่วยถูกล่ามขังในพื้นที่

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิตปีงบประมาณ 2560 (Annual Report 2017). กรุงเทพฯ: ละม่อม; 2560.

ศูนย์สารสนเทศ กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก http://www.dmh.go.th./report/poppulation/province.asp? Field24=2564.

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต. สุขภาพจิตชุมชน: บทเรียนและประสบการณ์ของประเทศไทย. นนทบุรี: บียอนด์ พับลิสชิ่ง; 2555.

โรงพยาบาลชื่นชม. ระบบสารสนเทศรายงานผลการดำเนินการผู้ป่วยจิตเภทปี 2562-2565. มหาสารคาม: โรงพยาบาลชื่นชม; 2562-2565.

ปัทมา โกมุทบุตร และ กฤษฏิ์ ทองบรรจบ. เอกสารประกอบการเรียนรู้ Chronic Care Model [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กรกฏาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก:http://www.med.cmu.ac.th/dept/commed

ขวัญทิพย์ สุขมาก. การบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคจิต. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนสำหรับบุคลากร ของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร: แสงจันทร์การพิมพ์; 2559.

บุญชม ศรีสะอาด.การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น; 2553.

พันธุ์ทิพย์ รามสูต. การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม.สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.กรุงเทพมหานคร: พี เอ ลีฟวิ่ง; 2540.

ทวีศักดิ์ นพเกสร. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา:โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง; 2549.

จักรพงษ์ พระสุรัตน์, วิรัติ ปานศิลา, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันอาการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน บ้านหนองคู อำเภอเสนานิคม จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 4:184-198.

พิเชษฐ พืดขุนทด. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอ ละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2562;2:95-107.

อนุพงศ์ ชาวคอนไชย, กัลยามาศ แจ่มกลาง.การบริหารจัดการเชิงระบบสู่การพัฒนาบริการสุขภาพจิต แบบ “ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ในชุมชน” อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565; 3 : 784-798

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2023