ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนในชุมชน

ผู้แต่ง

  • Saichon Kloyiam กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย
  • กมลวรรณ สุขประเสริฐ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย
  • ภารุจีร์ เจริญเผ่า กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย
  • ฐานิตา คุณารักษ์ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย
  • ดวงพร ไข่ขวัญ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย
  • ว่าที่ร้อยตรีมณฑล หวานวาจา กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

ชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ความสัมพันธ์, การเสริมพลังอำนาจ, สถานะสุขภาพ

บทคัดย่อ

ชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพของบุคคลสามารถพยากรณ์สถานะสุขภาพของบุคคลได้ ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Community Health Literacy: CHL) และความรอบรู้ด้านสุขภาพของบุคคล (Individual Health Literacy: IHL) ยังไม่มีการศึกษาอย่างชัดเจน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่าง CHL และ IHLโดยใช้ข้อมูลการขึ้นทะเบียนองค์กรและชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพจากเว็บไซต์ สาสุข อุ่นใจ คนไทย รอบรู้ กรมอนามัย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566 นำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแคร์และระดับการพยากรณ์ด้วย binary logistic regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการศึกษาพบว่า จากจำนวนผู้ตอบแบบสำรวจ 20,959 คน จาก 1,371 ชุมชน ใน 12 เขตสุขภาพ และกรุงเทพมหานคร CHL สามารถพยากรณ์ IHL ของคนในชุมชนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่คาดการณ์ไว้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับประเภทชุมชน ทั้งนี้  CHL สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของ IHL ของบุคคลในชุมชนได้ ร้อยละ 36.5 อีกทั้ง ยังพบด้วยว่าโอกาสที่จะพบประชากรที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำในชุมชนที่มีระดับชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำมีมากถึง 16.075 เท่า เมื่อเทียบกับชุมชนที่มีระดับชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพสูง (OR = 16.075, 95 C.I.: 11.874 - 21.761) จากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่า ระดับชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถพยากรณ์ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของบุคคลในชุมชนได้ หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคควรคำนึงถึงสถานการณ์ชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน

References

Organization WH. Health promotion glossary of terms 2021. 2021.

Peerson A, Saunders M. Health literacy revisited: what do we mean and why does it matter? Health Promotion International. 2009; 24(3): 285-96.

Sentell T, Zhang W, Davis J, Baker KK, Braun KL. The influence of community and individual health literacy on self-reported health status. J Gen Intern Med. 2014; 29(2): 298-304.

Paasche-Orlow MK, Wolf MS. The causal pathways linking health literacy to health outcomes. American journal of health behavior. 2007; 31(1): S19-S26.

Martin LT, Ruder T, Escarce JJ, Ghosh-Dastidar B, Sherman D, Elliott M, et al. Developing Predictive Models of Health Literacy. Journal of General Internal Medicine. 2009; 24(11): 1211-6.

Lurie N, Martin LT, Ruder T, Escarce JJ, Ghosh-Dastidar B, Sherman D, et al. Estimating and mapping health literacy in the state of Missouri. RAND Health. 2010:5.

Gottlieb L, Sandel M, Adler NE. Collecting and applying data on social determinants of health in health care settings. JAMA internal medicine. 2013; 173(11): 1 017-20.

Kloyiam S. Community Health Literacy as an empowerment tool for preventing non-communicable and emerging infectious diseases: What, How, and Why? THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH. 2022; 45(4): 11-23.

Department of Health. Sasuk Oonchai: Status of Community Health Literacy 2023 [Available from: https://sasukoonchai.anamai.moph.go.th/networking.php.]

Taggart J, Williams A, Dennis S,Newall A, Shortus T, Zwar N, et al. A systematic review of interventions in primary care to improve health literacy for chronic disease behavioral risk factors. BMC family practice. 2012; 13: 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2023