ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานทันตกรรมป้องกัน ในกลุ่มเด็กวัยเรียนของทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Chawanon Noiphon คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Suwit Udompanich คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Prachak Bouphan คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, ทันตกรรมป้องกันในกลุ่มเด็กวัยเรียน, ทันตบุคลากร, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ ศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่ง ความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานทันตกรรมป้องกันในกลุ่มเด็กวัยเรียนของทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากร คือ ทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 155 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการ สุ่มอย่างง่าย ได้จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน ความตรงเชิงเนื้อหามีค่ามากกว่า 0.50 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1-20 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าภาพรวมระดับปัจจัยทางการบริหาร ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และ การดำเนินงานทันตกรรม ป้องกันในกลุ่มเด็กวัยเรียนของทันตบุคลากร อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.15 (S.D.=0.37) , 4.08 (S.D.=0.40) และ 4.07 (S.D.=0.43) ตามลำดับ โดยพบว่า ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการดำเนินงานทันตกรรมป้องกันในกลุ่มเด็กวัยเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r=0.732, p-value< 0.001) ปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการดำเนินงานทันตกรรมป้องกันในกลุ่มเด็กวัยเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.518, p-value<0.001) พบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยทางการบริหารด้านเวลาในการปฏิบัติงาน ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารจัดการ ด้านบุคลากรและปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการเชื่อมโยง ระหว่างสถานบริการในเครือข่ายเดียวกัน มีผลและสามารถร่วมกันพยากรณ์การดำเนินงาน ทันตกรรมป้องกันในกลุ่มเด็กวัยเรียนของทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 69.0 (R2=0.690, p-value<0.001)

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทาง การดำเนินงานทันตสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564. กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. 2563.

สุณี วงศ์คงคาเทพ, เทพนิมิต พิมทะวงศ์, สุริยา รักเจริญ และชลธิชา พุทธวงษ์นันท์. คู่มือแนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข สำหรับทันตบุคลากรในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลศูนย์สุขภาพชุมชน. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. 2552.

เพ็ญนภา ชาดี และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการ บริหารที่ มีผลต่อการปฏิบัติงานด้าน ทันตกรรมป้องกันของเจ้าพนักงาน ทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสาร ทันตาภิบาล. 2562; 30(1); 92-102.

อัญชนา กิจแก้ว, นิตยา เพ็ญศิรินภา และ พรทิพย์ กีระพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพ ในเด็กนักเรียนประถมศึกษาของ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เขตสุขภาพ ที่ 6. วารสารวิชาการสาธารณสุข ชุมชน. 2563; 6(03): 162-162.

ยุทธนา แก้วมืด, ประจักร บัวผัน และ สุรชัย พิมหา. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และ แรงจูงใจ ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 2563; 20(2): 47-59.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ข้อมูลทันตบุคลากรจังหวัดชอนแก่น ประจำปีงบประมาณ 2564. ขอนแก่น: สำนักงาน; 2564. (เอกสารอัดสำเนา)

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum. 1988.

วีนัส พีชวณิชย์, สมจิต วัฒนาชยากูล และเบญจมาศ ตุลยนิติกุล. สถิติพื้นฐาน สำหรับนักสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โฟร์พริ้นติ้ง; 2547.

ศศิธร เฝ้าทรัพย์, และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหาร ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล. 2560; 28(1): 23-34.

ศรัณยา พันธุ์โยธา, และ ประจักร บัวผัน. ปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศ องค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตาม บทบาทหน้าที่นักวิชาการสาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัด ขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย ขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21(2): 152-165.

ศิรภัสสร มูลสาร, ชนะพล ศรีฤาชา, และ ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง. ปัจจัยการบริหาร และกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการ ปฏิบัติงานของแพทย์แผนไทยใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 10. วารสารวิชาการ สาธารณสุขชุมชน. 2564; 7(1): 74-86.

กานต์ธีรา พรหมรักษา, และอมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหาร ที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานควบคุม โรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกระบี่. วารสาร วิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุข ชุมชน. 2562; 2(1): 38-51.

ทิพรฎาร์ คุยแก้วพะเนาว์ และชนะพล ศรีฤาชา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและ ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการ ปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายา เสพติดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย สาธารณสุขศาสตร์หาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561; 11(4): 47-57.

ทศพล ใจทาน, ประจักร บัวผัน และ สุรชัย พิมหา. ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มี ผลต่อการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวน เคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิต ศึกษา). 2564; 21(3): 161-171.

กัญญารัตน์ จันทร์โสม, และประจักร บัวผัน. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยแห่ง ความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตาม มาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2563; 20(2): 60-71.

ณัฐพล โยธา, ประจักร บัวผัน และสุรชัย พิมหา. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและ บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการทำวิจัย เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของนักวิชาการ สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสาร วิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิต ศึกษา). 2562; 19(1): 149-160.

ก้องเกียรติยศ แขพิมพันธ์ ,ประจักร บัวผัน, และสุรชัย พิมหา. แรงจูงใจและปัจจัย แห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงาน โครงการ TO BE NUMBER ONE ของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิจัยหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับ บัณฑิตศึกษา). 2564; 21(3): 236-249.

จิราภรณ์ หินชัยภูมิ, ประจักร บัวผัน, และนครินทร์ ประสิทธิ์. (2565). ปัจจัย แห่งความสำเร็จและปัจจัยทางการบริหาร ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 5. วารสาร ทันตาภิบาล, 33(1), 113-128.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2023