การปรับตัวในการปฏิบัติงานและการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพศูนย์อนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
การปรับตัวในการปฏิบัติงาน, ชีวิตวิถีใหม่, การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวในการปฏิบัติงานและการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพศูนย์อนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 145 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 31 ตุลาคม 2565 โดยใช้แบบสอบถามการปรับตัวในการปฏิบัติงานและการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ค่า CVI เท่ากับ 1 และ 1 ทั้งสองฉบับตามลำดับ ตรวจสอบความเที่ยงโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.91 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าที่เป็นจริง ค่าที่เป็นไปได้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่นที่ 95%CI และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษา พบว่าการปรับตัวในการปฏิบัติงานภายใต้ชีวิตวิถีใหม่โดยรวมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.18, SD. = 0.49) การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติภายใต้ชีวิตวิถีใหม่โดยรวมอยู่ระดับมาก ( = 4.28, SD. = 0.53) และความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวในการปฏิบัติงานกับการนำนโยบาย ไปสู่การปฏิบัติภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพศูนย์อนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (rs = .645, p < .01) ดังนั้นผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานทั้งในด้านวิชาการและการให้กำลังใจที่ดี รวมถึงการสนับสนุนเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติควรพัฒนาตัวเองให้เท่าทันเทคโนโลยีอยู่เสมอและนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมสุขภาพไปสู่การปฏิบัติภายใต้ชีวิตวิถีใหม่
References
ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. สรุปแนวคิดในการปฏิรูประบบส่งเสริมสุขภาพ. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2564]; เข้าถึงได้จาก http://doh.hpc.go.th/bs/topicDisplay.php?id=328#a5.
กรมอนามัย. ภารกิจตามกฎหมายจัดตั้งหน่วยงาน. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2564]; เข้าถึงได้จาก https://psdg.anamai.moph.go.th/th/responsibility
วรเดช จันทรศร. การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: กราฟฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์); 2540.
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 21/2564 เรื่องพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564]; เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th /DATA/PDF/2564/E/279/T_0003.PDF
กองแผนงาน กรมอนามัย. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2563 - 2565) ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
วรวีร์ บุญคง. การปรับตัวในการทางานมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ พนักงานธนาคารสานักงานใหญ่เอกชนแห่งหนึ่ง. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2565]; เข้าถึงได้จาก http://www.excmba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-1-2_1603764686.pdf
Vaezi M, Vala M, Souri M, Mousavi A & Ghavamzadeh A. Emotional, Social and Occupational Adjustment among Oncology Nurse. International Journal of Hematology – Oncology and Stem cell Research. 2016; 10(4); 195–198.
Baghshykhi F, Rahimi H, Azizi-Fini I, Haji S, & Izadi-Dastgerdi E. Job characteristics and work adjustment among Iranian nurses: A correlational study. Nursing and Midwifery Studies. 2020; 9(2); 90-96.
Dawis RV, & Lofquist LH. A psychological theory of work adjustment. Minneapolis: University of Minnesota Press; 1984.
นฤมล ศิลวิศาล. ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ปฏิบัติงาน การอบรมเฉพาะทาง ความฉลาดทางอารมณ์ สภาพแวดล้อมในการทำงานกับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2562; 30(1); 46-57.
Rajah R, Hassali M & Lim CJ. Health Literacy-Related Knowledge, Attitude, and Perceived Barriers: A Cross-sectional Study among Physicians, Pharmacists, and Nurses. Malaysia: Public Hospitals of Penang. 2017; 5(281); 1-6.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรางกูร. ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย จำกัด; 2553.
ภัทรธิดา รัตนจิตรานนท์ และกิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยุคปกติวิถีใหม่. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 2565; 6(1); 154–168.
Best, J.W. Research in Education. 3th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. 1981.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง