โปรแกรมประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา บุญเจียม ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • สุกัณฑ์ เจียรวาปี ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ชาตรี เมธาธราธิป ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

ประเมิน, พัฒนาการ, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

เด็กปฐมวัยเป็นทรัพยากรสำคัญของสังคม เด็กจึงต้องมีพัฒนาการเต็มศักยภาพเพื่อให้เติบโตเป็นคนดี มีคุณภาพและมีความสุข สร้างสรรค์และทำประโยชน์ต่อสังคมได้ในอนาคต ในช่วงปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน เครื่องมือที่กระทรวงสาธารณสุขใช้ในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยคือ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย แต่พบว่า เล่มคู่มือหนา ตัวหนังสือในแต่ละหน้ามีเนื้อหามากไป ตัวหนังสือเล็ก มีศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เข้าใจได้ยาก ไม่สะดวกต่อการใช้ของผู้ลี้ยงดูเด็ก กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย จึงได้พัฒนาและจัดทำคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยสำหรับผู้เลี้ยงดูที่เป็นปู่ย่าตายายขึ้น เมื่อได้นำคู่มือฯไปให้ผู้เลี้ยงดูเด็กทดลองใช้ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 และติดตามประเมินพัฒนาการเด็ก จากการศึกษาประสิทธิผลของคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยสำหรับผู้เลี้ยงดูเด็กปู่ย่าตายาย พบว่า เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยเพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาที่ต่อเนื่อง จึงนำคู่มือฯมาพัฒนาเป็นโปรแกรมประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทำให้การเข้าถึงและความครอบคลุมเรื่องการส่งเสริมและประเมินพัฒนาการเด็กของผู้เลี้ยงดูทำได้เพิ่มขึ้น โดยจุดเด่นของโปรแกรมประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยนี้คือ สามารถคำนวณอายุและเลือกช่วงประเมินพัฒนาการของเด็กให้ผู้เลี้ยงดูได้ ทุกคนสามารถเข้าใช้โปรแกรม แม้คู่มือฯหรือโปรแกรมพัฒนาโดย ศูนย์อนามัยที่ 7 แต่ทุกเขตสุขภาพสามารถใช้โปรแกรมประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยนี้ได้ ซึ่งผู้พัฒนามองประโยชน์สูงสุดที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัย หากผู้เลี้ยงดูมีทางเลือกหรือนวัตกรรมในการส่งเสริม เฝ้าระวัง และประเมินพัฒนาการเด็กที่หลากหลาย สามารถเข้าถึงและเลือกใช้ได้ เด็กปฐมวัยในความเลี้ยงดูของผู้เลี้ยงดูก็จะมีพัฒนาการที่สมวัย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โครงการสำรวจสถานการณ์พัฒนาการและพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของครอบครัวไทย ปี 2560. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สุพัตรา บุญเจียม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็ก เขตสุขภาพที่ 7. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2564; 14(1): 40-60.

Kozuki N, Katz J, LeClerq SC, Khatry SK, West KP Jr, Christian P. The associations of parity and maternal age with small-for gestational-age, preterm and neonatal and infant mortality: a meta-analysis. BMC Public Health 2013; 13(3): 119-28.

ศูนย์อนามัยที่ 7 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 7ปีงบประมาณ 2564. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2564]. http://203.157.71.148/data/cluster/mom/download/DenverII64.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM). เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2558.

สุพัตรา บุญจียม, ธิโสภิญ ทองไทย และปิยะ ปุริโส. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยสำหรับ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ปู่ ย่า ตา ยาย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2564;44(2):97-112.

สุพัตรา บุญเจียม, ธิโสภิญ ทองไทย และนิตยา ศรีมานนท์. ประสิทธิผลของคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยสำหรับผู้เลี้ยงดูเด็ก ปู่ ย่า ตา ยาย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2565; 45(4):63-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2023