การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบเบ็ดเสร็จ ในชุมชนบ้านโคกเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
ขยะมูลฝอยติดเชื้อ, หน้ากากอนามัย, การจัดการขยะ, ชุมชนบ้านโคกเจริญบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัย ในสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบเบ็ดเสร็จในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนครัวเรือนบ้านโคกเจริญ ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 41 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired Sample T-Test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.5 อายุเฉลี่ย 36.46 ปี (S.D.=11.33) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ร้อยละ 41.5 โดยรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัย ในสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบเบ็ดเสร็จในชุมชน ประกอบด้วย 1) พัฒนาศักยภาพคณะทำงานหมู่บ้าน Zero wasted 2) มอบหมายและกำกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะทำงานในการสื่อสารความรู้แก่ครัวเรือน การเก็บขนขยะจากการคัดแยกของครัวเรือน การกำจัด และการประเมินผล 3) การจัดการขยะติดเชื้อโดยครัวเรือน ภายหลังการทดลองใช้รูปแบบพบว่า ค่าเฉลี่ยจากการวัดประเมินผลความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยติดเชื้อและการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยเพิ่มเป็น 8.29 (S.D.=1.29) สูงกว่าก่อนทดลองที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.00 (S.D.=1.36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001) ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยเพิ่มเป็น 2.66 (S.D.=0.66) สูงกว่าก่อนทดลองที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.27 (S.D.=0.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=.006) ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมในการทิ้งขยะที่ดีขึ้น โดยทิ้งในจุดรวมขยะ ลดการทิ้งขยะบริเวณถนนและที่สาธารณะ
References
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. (2548, 16 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 58 ก. หน้า 1-9.
กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์, วิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ. ฮาวทูทิ้ง หน้ากากอนามัยให้ปลอดภัยกับสังคมและสิ่งแวดล้อม [อินเตอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://tdri.or.th/2020/04/how-to-dispose-of-used-face-mask/
สิริพร คาวานิล, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. ขยะมูลฝอย: ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 เป็นอย่างไร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2563; 34(2): 144-57.
กรมควบคุมมลพิษ. คพ. เผยปี 2564 ขยะมูลฝอยลดลง ขยะติดเชื้อและขยะอันตรายเพิ่มขึ้น แนะจัดการอย่างถูกวิธี [อินเตอร์เน็ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/pcd_news/
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
ศูนย์สื่อสารสาธารณะ กรมอนามัย. สธ. เผย โควิด-19 สร้างขยะติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น เฉลี่ยถึง 178 ตันต่อวัน [อินเตอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/160615/
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. แนะผู้ที่แยกกักตัวที่บ้าน กำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้ถูกวิธี [อินเทอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/ Content/54960-แนะผู้ที่แยกกักตัวที่บ้านกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้ถูกวิธี.html
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่าแซง. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2564. อำนาจเจริญ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่าแซง; 2564.
จงภร มหาดเล็ก, กัญชญานิศ ศรีนุกูล, ศิรินันท์ คำสี. การพัฒนาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของนักเรียน โรงเรียนบางคล้าพิทยาคม อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2563; 5(1): 83-98.
นันทวุฒิ จำปางาม, พรทิพย์ พุทธโส. การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2564; 15(2): 75-89.
ชินวัฒน์ ชมประเสริฐ, สุทรรศน์ สิทธิศักดิ์, สิริเนตร เรืองหน่าย, กำหนด มีจักร. รูปแบบการจัดการขยะติดเชื้อของผู้ป่วยในชุมชน จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2562; 1(1): 53-66.
สวรรยา ธรรมอภิพล, จารุมนต์ ดิษฐประพัตร์, ปภาอร กลิ่นศรีสุข. ความรู้และพฤติกรรมในการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยของชุมชนบ้านกลาง-ไผ่ขาด จังหวัดนครปฐม ในช่วงวิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19). วารสารนวัตกรรมและการจัดการ 2564; 6(1): 37-50.
Srisatit T. Mask and ATK Wastes Management in Urban Community By People Participatory Process under COVID 19 Pandemic Crisis of Bangkok, Thailand. Thai Environmental Engineering Journal 2022; 36(1): 49-59.
กรมควบคุมมลพิษ. ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง แนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยด้วยเตาเผาอย่างมีประสิทธิภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/laws/5171
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560. (2560, 22 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก. หน้า 48.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรการควบคุมกำกับการขนมูลฝอยติดเชื้อเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2565. (2565, 11 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนที่ 58 ง. หน้า 8-10.
อภิชิต กองเงิน. การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข 2564; 1(1): 55-64.
ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์, อำพรรณ ไชยบุญชู. การศึกษาปริมาณขยะในครัวเรือนช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2564; 41(2): 1-17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง