รูปแบบการพัฒนาการจัดการอาหารริมบาทวิถีของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุชาติ สุขเจริญ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย
  • ekkachai chaidet สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย
  • อารยา วงศ์ป้อม สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

อาหารริมบาทวิถี, รูปแบบการพัฒนา, การจัดการ

บทคัดย่อ

 งานวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และรูปแบบการพัฒนาพื้นที่อาหารริมบาทวิถีของประเทศไทย จำนวน 24 จังหวัด เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินพื้นที่อาหารริมบาทวิถี และการสนทนากลุ่มของเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหารระดับจังหวัด เทศบาล และผู้ประกอบการอาหารริมบาทวิถี เกี่ยวกับสถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา ได้แก่ นโยบาย การบริหารจัดการ การใช้มาตรการทางกฎหมาย และมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และการสร้างภาคีเครือข่าย โดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม AIC เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถีของประเทศไทย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของการจัดการอาหารริมบาทวิถี มี 6 รูปแบบ ได้แก่ (1) พื้นที่ปิดถนน (2) พื้นที่ไม่ปิดถนน (3) พื้นที่เฉพาะ โดยมีรูปแบบการใช้บริการ (4) คนในพื้นที่ (5) รองรับการท่องเที่ยว (6) คนในพื้นที่และรองรับการท่องเที่ยว โดยรูปแบบการพัฒนาอาหารริมบาทวิถีให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องศึกษาสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอาหารริมบาทวิถี กำหนดเป้าหมาย และแนวทางปฏิบัติ ได้แก่ (1) กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน เช่น การกำหนดนโยบายการพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการอาหารริมบาทวิถี การติดตามกระตุ้นเตือนโดยเจ้าหน้าที่ และการควบคุม กำกับโดยคณะกรรมการ/ชมรม/สมาคมในพื้นที่ และการยกย่องเชิดชูเกียรติแก่แผงจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีที่มีการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน (2) การกำกับติดตามของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแกนหลัก หน่วยงานสาธารณสุขเป็นหน่วยงานสนับสนุน (3) การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง (4) การมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการอาหารริมบาทวิถี

References

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. การเฝ้าระวังสถานการณสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร ประจำป 2558. 2558 (เข้าถึงเมื่อ 2564 มีนาคม 09) : ปีที่ 2558 : จำนวน 7 หน้า. เข้าถึงได้จาก/Available from: https://foodsan.anamai.moph.go.th/th/food-sanitation/204381

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถีเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ. สมุทรสาคร. บริษัท ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป จำกัด. 2562. 79 หน้า

กองกฎหมาย กรมอนามัย. สถานการณ์การออกข้อบัญญัติท้องถิ่น. 2564. (เข้าถึงเมื่อ 2564 มีนาคม 09) : ปีที่ 2558 : จำนวน 2 หน้า. เข้าถึงได้จาก/Available from: https://laws.anamai.moph.go.th/th/status-local-rules64

ทิพารันต์ สัญพงศ์. ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีต่อการบริโภคอาหารริมบาทวิถี กรณีศึกษาเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2557

อัมพร จันทวิบูลย์ สง่า ดามาพงษ์. การพัฒนาอาหารริมบาทวิถีของประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562 ; ปีที่ 28 ฉบับที่ 6: หน้า 996 – 1012

Wirakartakusumah, Purnomo, & Dewanti Hariyadi.( 2014).Safety of Street Food:Indonesia'sExperience.Bogor Agricultural University.

Lucca & Torres.(2004). Food safety and hygiene practices of vendors during the chain of street. food production in Florianopolis, Brazil: A cross-sectional study.Food Control 62,178–186

ฐิติพัฒน์ ภาคพรต. แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาร้านอาหารริมทางในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ. ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

กมลรัตน์ ขุนอ่อน. การจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการพัฒนาตลาดสดน่าซื้อตลาดเทศบาลตำบลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2552.

ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. การจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน บริเวณตลาดสดอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2553.

Cuthill, M., & Fien, J. (2005). Capacity building: Facilitating citizen participation in local governance. Australian Journal of Public Administration, 64(4), 63–80.

ชนบท บัวหลวง. นโยบายสาธารณะ : การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดลพบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2562, ปีที่ 38 ฉบับที่ 5: หน้า 34-44

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2023