สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี
คำสำคัญ:
ภาวะสูงดีสมส่วน, ภาวะโภชนาการ, วัยเรียน, วัยรุ่นบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี มีวัตถุประสงค์เพือประเมินภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วนของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็น เด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ จำนวน 458 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับการ บริโภคอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร กับภาวะสูงดีสมส่วน โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน ร้อยละ 65.3 ความรู้เกี่ยว กับการบริโภคอาหารอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 87.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสูงดีสมส่วนที่ ระดับนัยสำคัญ 0.05 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การเจ็บป่วยถึงขั้นที่ต้องรับประทานยาหรือเข้ารับการรักษา ใน 1 เดือนที่ผ่านมา การออกกำลังกาย แต่ละครั้ง ติดต่อกันมากกว่า 20 นาที และมีความถี่ในการออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว ได้แก่ สถานะภาพสมรสของบิดา มารดา จำนวนพี่น้อง และ เงินที่ใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม และปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ได้แก่ การรับ ประทานอาหารเช้า การรับประทานอาหารครบ 3 มื้อ การรับประทานผัก การรับประทานผลไม้ การรับ ประทานอาหารประเภทตับ เลือด ข้อเสนอแนะ สถนศึกษาควรมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะ สมกับภาวะโภชนาการของเด็กแบบรายบุคคล ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ โรงเรียนและ ครอบครัวควรมีการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และ ประเด็นสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนให้ถูกต้องจนเกิดพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
References
World Health Organization. (2010). Global recommendations on physical activity for health. World Health Organization.
กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, บรรณาธิการ.
รายงานประจำปี 2562 สำนักโภชนาการ. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิค แอนด์ ดีไซน์; 2562. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 ฉบับ สุขภาพเด็ก พ.ศ. 2557. สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข; 2559.
HDC กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของเด็ก อายุ 6 - 14 ปี สูงดีสมส่วน เขตสุขภาพที่ 8 ปีงบประมาณ 2563 [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563] เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/ bJF3o
Memon et al. K. Eating disorders in medical students of Karachi, Pakistan-a cross-sectional study. BMC research notes, 2012 . 5(1), 1-7.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข. คู่มือการใช้เกณฑ์อ้างอิง การเจริญเติบโตของเด็กอายุ 6 - 19 ปี. กรุงเทพฯ: ทำด้วยใจ ; 2564. 61
นางกุลพร สุขุมาลตระกูล, นางสาวลักษณิน รุ่งตระกูล. การประเมินภาวะโภชนาการ และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อส่งเสริมสุขภาพ วัยรุ่นไทย. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย 2562
วิชัย เอกพลากร. พฤติกรรมสุขภาพ. ใน : วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงาน การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการ ตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2552. 47-114.
เติมศักดิ์ คทวณิช. General Psychology จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2556.
เทวรัณย์ หรรษ์หิรัญ. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะ โภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย โรงเรียนประชาวิทย์ จังหวัด ลำปาง (การค้นคว้าแบบอิสระ) ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชน ศาสตร์ศึกษา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2556.
กริช เรืองไชย, อภิญญา อุตระชัย. ความรู้ด้านโภชนาการ การบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ ส่งผลต่อภาวะโภชนาการในวัยรุ่น จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนา ระบบสุขภาพ.2565 15(1): 101-115.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง