ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูหลักและครู/ผู้ดูแลเด็ก ในเขตสุขภาพที่ 5
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เด็กปฐมวัย, ผู้เลี้ยงดูหลักบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้ เป็นการศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ในเขตสุขภาพที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เลี้ยงดูหลักและเด็กที่มีอายุ 9 เดือน – 5 ปี จำนวน 405 คู่ คัดเลือกพื้นที่ 4 จังหวัด จาก 8 จังหวัด สุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูหลักซึ่งมีค่าความสอดคล้องเท่ากับ 0.93 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูหลัก โดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 59.5 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยระดับ ต่ำ ในด้านการค้นหาข้อมูล การตรวจสอบและตัดสินใจ และด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล ร้อยละ 58.0, 58.0, และ 52.1 ตามลำดับ พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ความเพียงพอของรายได้ ความสัมพันธ์กับเด็กและลักษณะครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.05) โดยอายุของผู้เลี้ยงดูหลักมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P-value<0.05) และความรอบรู้ในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ (ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) สรุปผลและข้อเสนอแนะ จากการศึกษาจะเห็นได้ว่าผู้เลี้ยงดูหลักยังไม่มีความรอบรู้ในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ควรนำผลการศึกษาไปออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ในการเสริมสร้างความรอบรู้ ด้านสุขภาพให้กับพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้เลี้ยงดูเด็กในแต่ละพื้นที่ผ่านกิจกรรมครอบครัวคุณภาพและโรงเรียนพ่อแม่
References
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา); 2561.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, สำนักโภชนาการ. คู่มือแนวทางพัฒนาตำบลส่งเสริมเด็ก 0-5 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตร; 2560.
สุธรรม นันทมงคลชัย, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, ศุภชัย ปิติกุลตัง, กรวรรณ ยอดไม้, สุจิตตา ผาติบัณฑิต. สถานการณ์ครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของครอบครัวไทย. รายงานวิจัย; 2559.
วิภาดา แสงนิมิตชัยกุลและปรีย์กมล รัชนกุล. พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปัญหาสุขภาพของทารกและความ ต้องการบริการพยาบาลของผู้ดูแลเด็กทารก. วารสารสภาการพยาบาล. 2552;24(1):88-98.
Lee SM, Federico S, Klass P, Abrams MA, Dreyer B. Literacy and Child Health A Systematic Review. Arch Pediatr Adolesc Med. 2009;163(2):131-140.
Ju Young Lee. Maternal Health Literacy among Low-Income Mothers with Infants. Dissertation Presented to the Faculty of the Graduate School of The University of Texas at Austin in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Doctor of Philosophy; 2016.
Sanders LM, Lewis J, Brosco JP. Low Caregiver Health Literacy: Risk Factor for Child Access to a Medical Home. Pediatric Academic Societies; 2007.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎ อุบลราชธานี; 2543.
วชิระ เพ็งจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. ในเอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากร กรมอนามัย เรื่องความรอบรู้สุขภาพมุ่งสู่ประเทศไทย, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย, กลุ่มนวัตกรรมวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยี. ความรอบรู้ด้าน สุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูหลัก กรณีศึกษา 4 อำเภอ. รายงานการศึกษา; 2562.
สุพัตรา บุญเจียม, เบญจา มุกตพันธุ์, รัชฎา ฉายจิต, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. เด็กปฐมวัยคุณภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21(4):196-209.
สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต. คู่มือการเสริมสร้างความผูกพันทางอารมณ์สำหรับเด็กแรกเกิด- 5 ปี ด้วย “กิน กอด เล่น เล่า.”กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2559.
วรพรรณ ถมยา. ระดับความรอบรู้ ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ สำหรับเด็กของผู้ปกครองที่มีเด็กเล็กฟันไม่ผุและฟันผุ เขตเทศบาลหนองแค จังหวัดสระบุรี. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2559; 21(2):28-36.
ภัทร์พิชชา ครุฑางคะ, ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ, สุวิมล ว่องวาณิชการ. พัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล. วารสารพยาบาลตํารวจ. 2565;14(1):24-36.
นิตยาภรณ์ มงคล. Gen Y/Gen Me กลุ่มผู้กุมชะตาโลก. 2563. ใน: บล็อกบทความด้านสุขภาพจิต [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; c2016- [เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.63] เข้าถึงจาก: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=1251# 16. Darren AD. Health Literacy and Child Health Outcomes: A Systematic Review of the Literature. Pediatrics 2009;124(3):265-274.
เบญจมาศ สุรมิตรไมตรี. การศึกษาความฉลาดทางสุขภาพและสถานการณ์การดำเนินงานสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาพของคนไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 5 ปี 2556 สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
วริสา คุณากรธำรง. การศึกษาภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 6. รายงานวิจัย; 2558.
พูนศิริ ฤทธิรอน, ดวงหทัย จันทร์เชื้อ, พัสตราภรณ์ แย้มเม่น, นิชนันท์ อินสา, อมรรัตน์ เนียมสวรรค์, แววตา ระโส, และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564; 14(3):42-56.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง