ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 5
คำสำคัญ:
ภาวะโลหิตจาง, เด็กปฐมวัย, ธาตุเหล็กบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 5 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และรูปแบบการส่งเสริมการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพของเด็กปฐมวัยไทย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยจำนวน 532 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็ก สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความยาว/ส่วนสูง และวัดค่าฮีโมโกลบินด้วยเครื่อง HemoCue® วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Binary Logistic Regression ผลการศึกษาพบภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี ร้อยละ 25.0 แบ่งเป็นเด็กอายุ 6 เดือน-2 ปี มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 35.5 และเด็กอายุ 2-5 ปี มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 20.7 พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เขตที่อยู่อาศัย (OR = 1.57, 95%CI: 1.00-2.46, p<0.05) และช่วงอายุเด็ก (OR = 1.72, 95%CI: 1.01- 2.94, p<0.05) จากการศึกษานี้สถานบริการสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรจัดทำระบบเฝ้าระวังเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางและภาวะทุพโภชนาการ ตลอดจนจัดกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ให้กับพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กในช่วงเด็กอายุ 6 เดือน-2 ปี
References
Benoist BD, McLean E, Egli I, Cogswell M, editors. Worldwide prevalence of anaemia 1993–2005 WHO Global Database on Anaemia. [Internet]. [Cited 2022 August 15]. Available from: https://shorturl.asia/ohy0X
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ.2546. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2459.
Rojroongwasinkul N, Kitboonchoo K, Wimonpeerapattana W, Puttiponthanee S, Yamborisut U, Boonpraderm A, et al. SEANUTS: the nutritional status and dietary intakes of 0.5-12-year-old Thai children. British Journal of Nutrition 2013;110(Suppl3):S36-S44.
ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [วันที่อ้างถึง 21 พฤศจิกายน 2565]. ที่มา https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/anemia6m12m?year=2020
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. นนทบุรี; 2557.
Krejcie R.V, Morgan, D.W. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement 1970;30(3):607-610.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้มาตรฐานการเจริญเติบโตขององค์การอนามัยโลก ปี ค.ศ.2006 ในเด็กแรกเกิด-5 ปี. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.
บุษบา อรรถาวีร์, บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. การควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6- 12 เดือน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2020;1:82-93.
พัสตราภรณ์ แก้วพะวงค์, เกียรติกำจร กุศล, จิราภรณ์ สรรพวีรวงค์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กของเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารกรมการแพทย์ 2561;5:75-80.
ปิยะ ปุริโส, ลัดดา ดีอันกอง, กัญญาภัทร คำโสม, ธิโสภิญ ทองไทย, ทัศนีย์ รอดชมภู , พรพิมล ชูพานิช. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัย (อายุ 6-72 เดือน) เขตสุขภาพที่ 7. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม [บทวิทยาการ] 2564;2:39-53.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง