พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ "9 ย่างเพื่อสร้างลูก" ในหญิงตั้งครรภ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ สงจันทร์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • เยาวลักษณ์ นามโยรส ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ชลรดาก์ พันธุชิน ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ทิวาวรรณ เทพา ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • อรอุมา แก้วเกิด ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การฝากครรภ์คุณภาพ , แอปพลิเคชันไลน์ “9 ย่างเพื่อสร้างลูก”

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรม ความพึงพอใจ และความรู้เรื่อง การฝากครรภ์คุณภาพ ภายหลังการใช้แอปพลิเคชันไลน์ "9 ย่างเพื่อสร้างลูก"กลุ่มตัวอย่างเป็น หญิงตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ตั้งแต่ ก.ย. 63 - พ.ค. 64 จำนวน 240 ราย ที่ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ "9 ย่างเพื่อสร้างลูก" เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป พฤติกรรม การใช้ ความพึงพอใจ และความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ อายุ 20-35 ปี ร้อยละ 87.5 ตั้งครรภ์แรก ร้อยละ 49.2 และลงทะเบียนผ่านไลน์ช่วงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 74.6 พฤติกรรมการอ่าน เนื้อหาความรู้อยู่ในระดับบ่อยมาก(x̅ =4.06, SD =0.79) การอ่านทบทวนความรู้อยู่ในระดับบ่อยมาก (x̅ =3.59, SD =0.84) การตอบคำถามอยู่ระดับป่านกลาง (x̅ =3.49, SD =1.07) และความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅ =4.46, SD =0.65) ความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพ ตามช่วงอายุครรภ์ เป็นสัปดาห์ ดังนี้ น้อยกว่า12, 15 ±2, 20 ±2, 25 ±2, และ 36 ±2 มีความรู้ระดับมากที่สุด ส่วน 30 ±2 สัปดาห์ อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 9.15, 9.10, 8.78, 9.15, 8.30, และ 8.32 ตามลำดับ สรุปข้อเสนอแนะ หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันไลน์ "9 ย่างเพื่อสร้างลูก" ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับปานกลางถึงบ่อยมาก มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และความรู้เรื่อง การฝากครรภ์คุณภาพอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด จึงควรแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ใช้ไลน์นี้และศึกษา เพิ่มเติมถึงผลลัพธ์การใช้จนถึงการเลี้ยงดูเด็ก 0-6 ปี

References

กรมอนามัย ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข. การดำเนินการ ขับเคลื่อนการใช้โปรแกรม 9 ย่างเพื่อสร้างลูก. [อินเตอร์เน็ต] สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564; เข้าถึงได้จากhttp://203.157.71.148 /data/cluster/mom/download/ 9chlid63.pdf

Lua KY, Cassidy T, Hacking D, Brittain K, Jensen H, Haricharan J, & Heap M. Antenatal health promotion via short message service at a Midwife Obstetrics Unit in South Africa. BioMed Central Pregnancy and Childbirth. 2014;14(284):1-8. Doi: 10.1186/ 1471-2393-14-284.

Munro S, Hui A, Salmons V, Solomon C,GemmellE, Torabi N.et al. SmartMom text messaging for prenatal education: A qualitative focus group study to explore Canadian women's percep- tions. JMIR Public Health and Surveil- lance. 2017; 3(1): 1-7. doi: 10.2196/ publichealth. 6949

Su Y, Yuan C, Zhou Z, Heitner J, & Campbell B. Impact of an SMS advice programme on maternal and newborn health in rural China: Study protocol for a quasi randomised controlled trial. British Medicall Journal.2016; 6(8), 1004-1016.c doi:10.1136/bmjopen-2015-011016

Feroz A, Perveen S, & Aftab W. Role of Health applications for improving antenatal and postnatal care in low and middle income countries: A systematic review. BioMed Central Health Services Research.2017; 17(704), 1-11.doi: 10.1186/s12913-c 017-2664-7

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2539.

สำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. แนวการประเมินผล ด้วยทางเลือกใหม่ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ; 2546.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีวิจัย ทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เจริญผล; 2542.

เกศปรียา แก้วแสนเมือง. พฤติกรรมการ ใช้และความพึงพอใจจากแอพพลิเคชันไลน์ (Line) ของผู้ที่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-45 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระ หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.78 หน้า

อภิชญา วิศาลศิริรักษ์. พฤติกรรมการใช้ ไลน์กรุ๊ป และความพึงพอใจในความ สัมพันธ์ภายในกลุ่มของวัยทำงานในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.117 หน้า

ศศิธร กระจายกลาง. การพัฒนารูปแบบ การเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้สตอรี่ไลน์ แอปพลิเคชั่น เพื่อการเรียนรู้เรื่องการดูแล ตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์บุรีรัมย์ 2563; 35(2): 269-280.

รสวันต์ อารีมิตร และคณะ. แอพพลิเคชัน บนอุปกรณ์พกพาเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และพัฒนาการเด็กไทยปีที่ 2. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560.

มาลินี นาคใหญ่. การพัฒนาแอปพลิเคชัน ส่งเสริมการดูแลหญิงตั้งครรภ์. งานประชุม วิชาการระดับชาติครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม; 2563. หน้า1728-1735.

สุธิดา นครเรียบและคณะ. ประสิทธิผลของ โมบายแอพพลิเคชั่นต่อความร่วมมือในการ รับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. Journal of Nursing Science 2560; 35(3); 58-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-01-2023