การศึกษาภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • อ้อยทิพย์ บัวจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • พิชามญชุ์ คงเกษม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ณัฐพล พลเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • เทพไทย โชติชัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

สุขภาพจิต, นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1

บทคัดย่อ

วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ต้องมีความอดทน เสียสละและรับผิดชอบ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝัง ฝึกฝนให้เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีศักยภาพในการสร้างเสริมสุขภาพจิตตนเองเพื่อคงไว้ซึ่งการเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ภาคตัดขวาง Cross-sectional study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะ สุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1  ที่กำลังศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 96 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสมบูรณ์ (TMHI-66) และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย 1) ข้อมูลทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 86.5 อายุเฉลี่ย 19.3 ปี ร้อยละ 45.8 เคยมีเหตุการณ์วิกฤติในชีวิต 2) ระดับภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลในภาพรวม พบว่า ความสุขมากกว่าคนทั่วไป (Good)  ร้อยละ 64.6 รองลงมามีความสุขเท่ากับคนทั่วไป (Fair) ร้อยละ 26.0 และมีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป (Poor) ร้อยละ 9.4 ตามลำดับ และแยกรายด้าน ความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อเหตุการณ์ที่ “ส่วนใหญ่ระบุ มากที่สุด” คือท่านรู้สึกยินดีกับความสำเร็จของคนอื่น ร้อยละ 71.9 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผน พัฒนาระบบการดูแลและให้คำปรึกษาสำหรับนักศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิต ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตในนักศึกษา และมีการส่งเสริมในการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต สำหรับนักศึกษา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในทุกๆ ด้าน

References

ณัฏฐภัณฑ์สัณฑ์ ศรีวิชัย, มัจฉรีย์ คู่วิวัฒน์ชัย. นักเรียนนักศึกษาและความรอบรู้สุขภาพจิต. วารสารสังคมสงเคราะห์ 2564; 29:37-65.

เทื้อน ทองแก้ว. การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์ 2563; 2:1-10.

กาญจนา คงมั่น และชุติมา ฮากิม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2563;3:331-339.

วารีรัตน์ ถาน้อย, อทิตยา พรชัยเกตุ, โอว ยอง, ภาศิษฏา อ่อนดี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสภาการพยาบาล 2555;7:60-76.

จิรภัค สุวรรณเจริญ, อติญาณ์ ศรเกษตริน และชุติมา มาลัย. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. พยาบาลสาร 2560;4:177-188.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล, ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560; 9:81-92.

ศิรพร นันทเสนีย์, จิราพร เกสรสุวรรณ์, ขวัญธิดา พิมพการ. ผลของโปรแกรมการจัดการสุขภาพจิตต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2564; 35:63-76.

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. รายชื่อนักศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ;2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://regis.cpru.ac.th

อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, สุจริต สุวรรณชีพ. การศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2544; 46:209-225.

จงลักษณ์ ทวีแก้ว, วิจิตรา จิตรักษ์, ชนุกร แก้วมณี, น้ำฝน ศรีเสน. การศึกษาภาวะสุขภาพจิตและระดับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล: กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2562; 20:60-68.

อรุณี มิ่งประเสริฐ. การศึกษาสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2557; 4:211-227.

พรรณภา เรืองกิจ, สนธยา มณีรัตน์, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ. วารสารVeridian E Journal Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ 2562; 12:1208-1224.

ชัชชฎาภร พิศมร. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานคร. ใน : ชัยยงค์ พรหมวงศ์, สถิต นิยมญาติ, สุวิมล จอดพิมาย, บรรณาธิการ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 8 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน. กรุงเทพ: สำนักวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี; 2562. หน้า 79-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-01-2023