ผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพ อสม. รอบรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ชุมชนบ้านสว่างเหนือ ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • กนกฉัตร สมชัย มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • นัฐพล ศรีทะวัน มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • วชิรา คำย้าว มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • ประเสริฐ ประสมรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • ทนงศักดิ์ มุลจันดา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาผาง
  • ขนิษฐา ตะลุตะกำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาผาง

คำสำคัญ:

กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน , โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพ อสม. รอบรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ชุมชนบ้านสว่างเหนือ ตำบลห้วย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ เครื่องมือในการทดลองโดยโปรมแกรมพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ ที่มีค่าเชื่อมั่นเท่ากับ .712 ใน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทุกรายในชุมชนซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 8 ราย และเก็บข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของ ในกลุ่มตัวอย่างเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 22 คน ซึ่งได้จากการคำนวณโดยสูตรเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อน-หลัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยสถิติ Paired sample test / Wilcoxon Sign Rank test ด้วยโปรแกรมโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษา พบว่า อสม. จำนวน 8 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.5 อายุเฉลี่ย 46.5 ปี (S.D.=1.13) โดยภายหลังได้รับโปรแกรมฯ พบว่ามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (85.00 (S.D. 4.41) VS 99.88 (S.D. 13.72) : P-value = 0.01) โดยหากพิจารณาเป็นระดับพบว่ามีความรอบรู้ระดับดีมากหรือรู้แจ้งแตกฉานเพิ่มจากร้อยละ 12.5 เป็นร้อยละ 50.0 ผลในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 22 คน ภายหลังได้รับการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานดำเนินงานโดย อสม. พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพในภาพรวมไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่างก่อน-หลังการทดลอง (Mean=62.90 (6.85) VS Mean=65.95 (6.59) : P-value = 0.46) และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดแม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างก่อน-หลังการทดลอง แต่อย่างไรก็ตามยังมีผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ร้อยละ 54.5 ดังนั้น ควรพัฒนาโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมศักยภาพ อสม. เพื่อเพิ่มขีดจำกัดความสามารถด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

References

World Health Organization Organization, Draft recommendations to strengthen and monitor diabetes responses within national noncommunicable disease programmes, including potential targets. WHO Discussion Paper [internet]. 2021 [cited 2022 Apr 15]:1-9. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/who-discussion-paper-draft-recommendations-to-strengthen-and-monitor-diabetes-responses-within-national-noncommunicable-disease-programmes-including-potential-targets

International Diabetes Federation, IDF Diabetes Atlas 10TH edition. 2021. Available from: https://diabetesatlas.org/atlas/tenth-edition/

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามชุก. คู่มือ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.). สุพรรณบุรี: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามชุก. เข้าถึงได้จาก: https://www.govesite.com/samc00749/document.php?page=1

นิคม ถนอมเสียง. การคำนวณขนาดตัวอย่าง [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 16 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://home.kku.ac.th/nikom/516201_sample_size_nk2561.pdf

สมบัติ วัฒนะ และดรรชนี สินธุวงศานนท์. ผลลัพธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยวิถีพุทธสำหรับผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปต่อโรคเบาหวาน กรณีศึกษาตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม.2562;13:76-91.

อรวรรณ นามมนตรี. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ(Health literacy). วารสารทันตาภิบาล.2561;29:122-28.

กชกร สมมัง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในข้าราชการกลุ่มเสี่ยงจังหวัดลพบุรี. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร.2563;29:87-98.

Nutbeam Dom. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International.2000; 15:259-67.

ธัญชนก ขุมทอง, วิราภรณ์ โพธิศิริ และขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. Science and Technology Silpakorn University.2559;3:67-85.

ประเวช ชุ่มเกษรกูลกิจ, นิรันตา ไชยพาน, สุจิตรา บุญกล้า และจักรกฤษณ์ พลราชม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพของประชาชนไทย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.2564;15:25-36.

กฤตพงษ์ โรจนวิภาต และเวณิกา โนทา. การพัฒนารูปแบบการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของชุมชนเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย.2563;10(2):274-90.

Lauren H, Brooke S, Danielle S. Health Literacy in Primary Care Practice. ProQuest. 2015;92:118-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-01-2023