ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตผู้เลี้ยงดูเด็กกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา บุญเจียม ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้เลี้ยงดูเด็ก, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

พัฒนาการเด็กสมวัยเป็นเป้าหมายสูงสุดในการเลี้ยงดูเด็กของครอบครัว ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย คุณภาพชีวิตของผู้เลี้ยงดูเด็ก เขตสุขภาพที่ 7 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ข้อมูลของผู้เลี้ยงดู คุณภาพชีวิตของผู้เลี้ยงดูกับพัฒนาการเด็ก กลุ่มตัวอย่างคือผู้เลี้ยงดูเด็กและเด็กปฐมวัย จำนวน 800 คน ใช้การสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตของผู้เลี้ยงดู และตรวจพัฒนาการเด็กด้วยเครื่องมือ Denver II วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และใช้สถิติการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ Multiple logistic regression พบว่า ผู้เลี้ยงดูเป็นเพศหญิง ร้อยละ 94.4 อายุเฉลี่ย 43.8 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14.0 อายุต่ำสุด 16 ปี สูงสุด 77 ปี คุณภาพชีวิตของผู้เลี้ยงดูเด็กอยู่ระดับดี ร้อยละ 77.1 เด็กพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 56.8 ด้านภาษาเป็นด้านที่เด็กสงสัยล่าช้ามากที่สุด มี 4 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย 1) รายได้ของครอบครัว (AOR = 1.8; 95%CI: 1.39 - 3.34; p-value 0.009) 2) การอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของเด็ก (AOR = 1.7; 95%CI: 1.31 - 2.96; p-value 0.024) 3) การมีโรคประจำตัวของผู้เลี้ยงดู (AOR = 1.4; 95%CI: 1.29 - 2.15; p-value 0.032) และ 4) คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม (AOR = 1.4; 95%CI: 1.23 - 2.73; p-value 0.011) ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้นต้องทำให้ครอบครัวมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต บิดามารดาได้เลี้ยงดูเด็ก ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน และสร้างเสริมให้ผู้เลี้ยงดูมีสุขภาพที่ดีเป็นผู้เลี้ยงดูที่ไม่มีโรคประจำตัวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

Walker SP, Wachs TD, Grantham-McGregor S, Black MM, Nelson CA, Huffman SL, et al. Inequality in early childhood: risk and protective factors for early child development. Elsevier Ltd all Rights Reserved 2011; 378(9799): 1325-38.

สมัย ศิริทองถาวร. คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี สำหรับผู้ปกครอง [อินเทอร์เน็ต]. สถาบันพัฒนาเด็ก ราชนครินทร์กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaichilddevelopment.com/ images/ doc/Ebook1.pdf.

World Health Organization. Developmental Difficulties in Early Childhood: Prevention, early identification, assessment and intervention in low- and middle-income countries: A Review. Child and Adolescent Health and Development. Turkey: Turkey Country Office and CEECIS Regional Office; 2012.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โครงการสำรวจสถานการณ์พัฒนาการและพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของครอบครัวไทย ปี 2560. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

องค์การยูนิเซฟ. ความเหลื่อมล้ำ ช่องว่างปัญหาเด็กและสตรี: ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2558-2559 [เข้าถึงเมื่อ 24 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unicef. org/thailand/tha/Thailand_MICS_Full_Report_TH.pdf.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพพัฒนาการและการเจริญเติบโตเด็กปฐมวัย ปี 2557. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

สุพัตรา บุญเจียม. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตผู้เลี้ยงดูเด็กกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2564; 13(1): 3-20.

สุพัตรา บุญเจียม, ธิโสภิญ ทองไทย, พีรญา มายูร และปิยะ ปุริโส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเด็กปฐมวัย คุณภาพ เขตสุขภาพที่ 7. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปีที่ 45 ฉบับที่ 2 เมษายน 2565 – มิถุนายน 2565.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998; 17: 1623-34.

Group, W. Development of the world health organization WHOQOL-BREF quality of life assessment. Psychological medicine 1998; 28(3): 551.

นิตยา คชภักดี และอรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล. คู่มือการฝึกอบรมการประเมินทดสอบพัฒนาการเด็ก ปฐมวัย. ฉบับแก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 4. นครปฐม: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว; 2556.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2564. นนทบุรี; 2564.

สุพัตรา บุญเจียม. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 7 . วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2559; 8(1): 15-29.

สุธรรม นันทมงคลชัย. ครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู และพัฒนาการเด็กปฐมวัยในประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2559; 46(3): 205-10.

Ozkan, M., Senel, S., Arslan, E. A., & Karacan, C. D. The socioeconomic and biological risk factors for developmental delay in early childhood. European journal of pediatrics 2012; 171(12): 1815-21.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร และวันวิสาห์ แก้วแข็งขัน. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

Farnik, D., Brozek, G., Pierzchala, W., Zejda, J., Skrzypek, M., & Walczak, L. Development, Evaluation and validation of a new instrument for measurement quality of life in theParents of children with chronic disease. Health and Quality of Life Outcomes 2010; 8: 151.

Mugno, D., Ruta, L., Genitori D, V., & Mazzone, L. Impairment of quality of life in parents of Children and adolescents with pervasive developmental disorder. Health and Quality of Life Outcomes 2007; 5:22.

Yamada, A., Kato, M., Suzuki, M., Suzuki, M., Watanabe, N., Akechi, T., & Furukawa, T. A. Quality of life of parents raising children with pervasive developmental disorders. BMC Psychiatry 2012; 12(1): 119.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-01-2023