การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุขที่พยาบาลอนามัยชุมชนควรรู้
คำสำคัญ:
การจัดลำดับความสำคัญปัญหาสาธารณสุข, วิธีการให้น้ำหนักเกณฑ์ Criteria Weighting Methodบทคัดย่อ
การวินิจฉัยชุมชนเป็นการดำเนินงานที่สำคัญและเป็นหัวใจในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขที่มีของชุมชน ในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุขมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ต้องนำมาดัดแปลงเพื่อใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ขององค์กร บุคคล และชุมชนด้วย การตัดสินใจเลือกปัญหาเพื่อแก้ไขและเกณฑ์ต่างๆ ในการพิจารณา ไม่อาจเกิดจากบุคลากรสาธารณสุขคนใดคนหนึ่งได้ แต่ต้องมีทีมพิจารณาร่วมกัน วิธีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่นิยมใช้กันมาก คือ วิธีการให้น้ำหนักเกณฑ์(Criteria Weighting Method) ของภาควิชาบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยการใช้เกณฑ์ของขนาดของปัญหา, ความรุนแรงปัญหา, ความยากง่ายในการแก้ปัญหา และความตระหนักของชุมชนต่อปัญหา ช่วยให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นผลดีต่อชุมชนด้วย เพราะสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการที่จะร่วมวางแผน/โครงการต่างๆ และร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนในลำดับต่อไป บทความนี้จะได้ให้แนวทางในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุขที่นักวิชาการสาธารณสุขรวมทั้งพยาบาลชุมชนควรรู้และเข้าใจ
References
ภาควิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. การพยาบาลชุมชน 1 : แนวคิดหลักการ และกระบวนการพยาบาลชุมชน. ขอนแก่น: ภาควิชาการพยาบาลการพยาบาลชุมชน; 2551. (เอกสารอัดสำเนา).
บุญชัย ภาละกาล. การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในกระบวนการดำเนินงานอนามัยชุมชน บทเรียนใน การนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลในชุมชน. วารสารการพยาบาล (Nursing Journal of the Ministry of Public Health ; 2557: 1-11.
ภาควิชาบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. การวางแผนงาน/โครงการสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบริหารสาธารณสุข; 2539. (เอกสารอัดสำเนา).
McDonald J, Ollerenshaw A. Priority setting health care: a framework for local catchment. Journal of Rural and Remote Health Research [Internet]. 2011. [cite 29 May 2022]. Available from: http://www.rrh.org.au).
สุชาดา ภัยหลีกลี้ และวัฒนะ ดิษฐ์เจริญ. การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพ(Priority setting of the problems) ใน การสร้างสุขภาพในมิติของการป้องกันโรค ในบริบทหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2546. หน้า 91-103.
นิรัตน์ อิมามี. เทคนิคการวางแผนงานโครงการสุขศึกษาและสาธารณสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2543.
ณิชชาภัทร ขันสาคร. การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพชุมชน. วารสารสุขศึกษา 2561; 41(2): 1-17.
National Association of Country and City Health Official(NACCHO). First things first: Priority health problems care [Internet]. 2011. [cite 1 July 2017]. Available from: (http//archived.nac-cho.org/topics/infrastructure/accreditation/upload/Prioritization-Sumaries-and Examples.pdf).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง