ภาวะทุพโภชนาการสองปลายในเด็กปฐมวัยพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7: ก่อนและระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ปิยะ ปุริโส ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ทุพโภชนาการสองปลาย, ภาวะโภชนาการ, เด็กปฐมวัย, โควิด-19

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยก่อนและระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเขตสุขภาพที่ 7 รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผู้เลี้ยงดู ข้อมูลจากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ข้อมูลโภชนาการเด็กปฐมวัยโดยการชั่งน้ำหนัก และวัดความยาว/ส่วนสูง ข้อมูลระยะก่อนการระบาดจากการศึกษาสถานการณ์การเจริญเติบโต ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโตและรูปแบบการส่งเสริมการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพของเด็กปฐมวัยไทย พ.ศ. 2561 จำนวน 664 คน และระหว่างการระบาดจากการศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ปี 2564 (Denver II) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเด็กปฐมวัยคุณภาพ เขตสุขภาพที่ 7จำนวน 837 คน วิเคราะห์เปรียบเทียบภาวะทุพโภชนาการในระยะก่อนและระหว่างการระบาดโดยการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ในเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 3 ปี มีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุที่อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักมากเกินเกณฑ์เพิ่มขึ้นจาก 2.8% เป็น 8.1% (p-value 0.002) ด้านความยาว/ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุอยู่ในเกณฑ์สูงเพิ่มขึ้นจาก 1.9% เป็น 4.5% (p-value 0.046) และน้ำหนักหนักตามเกณฑ์ความยาว/ส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ผอมลดลงจาก 5.0% เป็น 2.2% (p-value 0.040) ยังพบแนวโน้มของเด็กที่มีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นจาก 1.6% เป็น 3.4% แต่ไม่พบความแตกต่างของภาวะทุพโภชนาการของกลุ่มตัวอย่าง 3 – 6 ปี ในก่อนและระหว่างการระบาดของโควิด-19 การแพร่ระบาดของโควิด-19 เร่งปัญหาทุพโภชนาการสองปลายในเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านโภชนาการเกิน ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ผู้เลี้ยงดูเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม เตรียมสำหรับเด็กให้ครบทั้ง 3 มื้อ รวมทั้งลดอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเพิ่มกิจกรรมการออก กำลังกายที่ทำที่บ้านได้ และเฝ้าระวังภาวะโภชนาการด้วยกราฟการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ

References

Winichagoon P. Thailand nutrition intransition: Situation and challenges of maternal and child nutrition. Asia Pacific Journal of Clinical Nutrition.2013; 22(1):6-15.

พัตธนี วินิจจะกุล. โภชนาการช่วงแรกของชีวิตกับทุพโภชนาการสองปลาย: ความท้ายทายสำหรับประเทศไทย. วารสารโภชนาการ. 2558; 50(2):11-25.

Rachel N, Carol L, Jessica H, Brian H. Economic effects of the double burden of malnutrition. The Lancet.2020; 395(10218):156-164.

ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. รายงานผลการขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิตปีงบประมาณ 2561 ศูนย์อนามัยที่ 7 กรมอนามัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพานิช (กรุงเทพ) จำกัด; 2561

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. สถานการณ์โภชนาการสตรีและเด็กปฐมวัย เด็กอายุ 0 - 5 ปี: รานงานระบบ HDC.[อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/nutrition/198432

UNICEF. Preventing a lost decade:Urgent action to reverse the devastating impact of COVID-19 on children and young people. [Internet]. 2021 [cited 2022 March 16]. Available from:https://www.unicef.org/media/112891/file/UNICEF%2075%20report.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และองค์การยูนิเซฟ.ผลกระทบของโควิด-19 ต่อครอบครัวเปราะบาง: ครอบครัวที่มีเด็กเล็ก. [อินเตอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://www.unicef.org/thailand/media/6206/file/COVID-19%20Impact%20on%20young%20children.pdf

กรมอนามัย กรทรวงสาธารณสุข, องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. รายงานการสำรวจการประเมินผลกระทบเบื้องต้นของสถานการณ์การระบาดของโรคคิด 19 ในประเทศไทยต่อการบริการในคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกสุขภาพเด็กดี(WCC). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัทเอ็มดี ออล กราฟิก จำกัด; 2564

Wayne W. D., Chad L. C. Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences. 10th ed. United States of America: np; 2013

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มรายงานมาตรฐาน งานโภชนาการ ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ15 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=46522b5bd1e06d24a5bd81917257a93c&id=67e41dbb1ce5d844d49f6b7b10e30d01

ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล, สุพจน์ รื่นเริงกลิ่น,ลักษณิน รุ่งตระกูล. คู่มือการใช้มาตรฐานการเจริญเติบโต ขององค์การอนามัยโลก ปี ค.ศ. 2006 ในเด็กแรกเกิด-5 ปี.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็ก 6 - 19 ปี. พิมพ์ครั้งที่2. สมุทรปราการ: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด; 2564

กองแผนงาน กรมอนามัย. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2563-2565)ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์; 2563

พรรณี ไพบูลย์ และคณะ. ศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3. วารสารสาธารณสุขนครสวรรค์. 2561;4(2):27–42.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีใน 17 จังหวัดของประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ:สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย.

ลัดดา เหมาะสุวรรณ, วิชัย เอกพลากร,ภาวะโภชนาการเด็กไทย. ใน: วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 ฉบับสุขภาพเด็ก พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2559. หน้า 121–146.

กระทรวงสาธารณสุข. มาตรการและแนวทางการดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/im_commands/im_commands06.pdf

ปัญจมาศ ท่วมเพ็รช, วรวรรณ เหมชะญาติ. ความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับสุขภาวะของเด็กวัยอนุบาลในช่วงของสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565];16(2):13.เข้าถึงได้จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/download/249072/168567/914497

สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, อาภาวรรณ หนูคง,ณัฐธิรา ไกรมงคล, รุ่งรดี พุฒิเสถียร. การนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารการพยาบาล. 2560;32(4):120-133

Tontisirin K., Winichagoon P. Community-based programmes: Successfactors for public nutrition derived from the experience of Thailand. Food Nutr Bull. 1999; 20(3):315-322

Weber M, Grote V, Closa-Monasterolo R, Escribano J, Langhendries JP, Dain E, et al. European Childhood Obesity Trial Study Group. Lower protein content in infant formula reduces BMI and obesity risk at school age: Follow-up of a randomized trial. Am J Clin Nutr. 2014; 99:1041-1051.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-08-2022