ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชนเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • มกรารัตน์ หวังเจริญ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ, ผู้พิการโรคเรื้อน

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 10 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น(1) วัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมลงทุกด้าน ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตได้ ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคทางกายร่วมด้วย และประมาณร้อยละ 30เคยประสบภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงอย่างน้อยหนึ่งครั้ง(2)

ปัจจุบัน ผู้สูงอายุที่พิการจากโรคเรื้อนในพื้นที่มีจำนวน 436 ราย จากผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 600 ราย ผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า ระหว่างปี 2558 - 2560 จำนวน 3 ราย (0.68%), 3 ราย (0.68%), 19 ราย (4.36%) ตามลำดับ ซึ่งนับว่ายังน้อยกว่าในพื้นที่อื่น อาจเป็นเพราะเป็นผู้สูงอายุที่พิการจากโรคเรื้อนจึงไม่กล้าเข้ามารับบริการหรือไม่ ดังนั้นผู้วิจัยต้องการหาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในพื้นที่โดยมีวิธีการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนา ในเดือนมกราคม 2563 ผู้สูงอายุในพื้นที่จำนวน 359 ราย เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ แบบบันทึกเก็บข้อมูลทั่วไป ข้อมูลสุขภาพกาย ครอบครัวและทางสังคม ทั้งนี้ ใช้เครื่องมือคัดกรองภาวะซึมเศร้าของ TGDS วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ Frequency, Percentage, Prevalence rate with 95% CI, Mean (Standard deviation), Chi square, สถิติเชิงอนุมาน เพื่อหาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรและปัจจัยต่างๆ ได้แก่ Odds ratio, Multiple Logistic Regression ผลการศึกษา พบว่าความชุกของภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ ร้อยละ 44.84 เป็น ผู้สูงอายุที่พิการจากโรคเรื้อน 229 ราย (ร้อยละ 63.78) มีภาวะซึมเศร้า 119 ราย (ร้อยละ 51.96) ผู้สูงอายุที่ไม่พิการจากโรคเรื้อน 130 ราย (ร้อยละ 36.21) มีภาวะซึมเศร้า 42 ราย (ร้อยละ 32.30) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ภาวะพิการมีแนวโน้มสัมพันธ์ กับภาวะซึมเศร้า 3.46 เท่า (95% CI 1.754 - 6.816, p value < 0.000) และสถานภาพโสด มีแนวโน้มสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า 1.72 เท่า (95% CI 1.015 - 2.929, p value 0.044)

References

Rossarin Gray. Elderly care: The happiness and stress. The population research Institute and social research [Internet]. Mahidol University; 2013 [cited 2019 Dec 1]. Available from:https://ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/FileUpload/Staff/FileCV/Rossarin%20Gray_521_14-7-2021.pdf

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. The Situation of the Elderly Thailand 2016 [Internet]. 2016 [cited 2019 Jan 27]. Available from: http://thaitgri.org/?p=38427

ทิปภาชุติกาญโกศล.ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุอันตรายกว่าที่คิด. บทความสุขภาพ.[อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.samitivejhospitals.com/th/

โรงพยาบาลสิรินธร. ประวัติสถานพยาบาลโรงพยาบาลสิรินธร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ1 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://gishealth.moph.go.th›healthmap›info_history

ศรวณีย์ อวนศรี, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล,ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, ดนัย ชินคำ, ณัฐธิดา มาลาทอง. การศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย.HITAP [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hitap.net/research/168386

อาคม บุญเลิศ. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุเรื้อรังใน ชุมชนเขตความรับผิดชอบของสถานบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559; 31 (1): 25- 33.

Hsieh, Bloch, Larson. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine 1998; 1623-1634.

กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย. สารศิริราช[อินเตอร์เน็ต]. 2537 [เข้าถึงเมื่อ10 ธันวาคม 2562]; 46: [หน้า1-9]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/abstract/nurse/details.asp?id=8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-08-2022