ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพผ่านบัญชีอย่างเป็นทางการ ของไลน์โรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น (Line Official Account): สุขภาพดีมีรางวัลของประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบ

ผู้แต่ง

  • ชาตรี เมธาธราธิป ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ประภัสสรา พิศวงปราการ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ธเนศ นนท์ศรีราช ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเข้าถึงระบบบริการส่งเสริมสุขภาพ, ความพึงพอใจต่อการใช้บัญชีอย่างเป็นทางการ Line Official Account : สุขภาพดีมีรางวัลศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ใช้วิธีเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงระบบบริการส่งเสริมสุขภาพผ่านบัญชีอย่างเป็นทางการของไลน์โรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น (Line Official Account) : สุขภาพดีมีรางวัลของประชาชนในพื้นที่รับผิดขอบศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ประชากรที่ศึกษาเป็นสมาชิกในกลุ่มไลน์ OA โรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกจำนวน 384 คน ตรวจสอบค่าความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงได้ 0.74 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูล จำนวน 7 คน รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2564 วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Spearman’s correlation coefficient ข้อมูลเชิงคุณภาพจากนำเสนอด้วยวิธีพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจต่อการใช้บัญชีอย่างเป็นทางการของไลน์ โรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.82 คะแนน (S.D.=0.21) และมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกในระดับต่ำ กับการเข้าถึงระบบบริการส่งเสริมสุขภาพผ่านบัญชีอย่างเป็นทางการของไลน์โรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า rs = 0.378; p-value < 0.001) ส่วนปัจจัยอื่น ๆ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงระบบบริการส่งเสริมสุขภาพผ่านบัญชีอย่างเป็นทางการของไลน์ โรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นข้อเสนอแนะควรมีรางวัลที่ได้รับจากการใช้บริการที่มีความน่าดึงดูดใจ จะได้กลับมาใช้บริการซ้ำ และควรมีการศึกษาพัฒนารูปแบบไลน์ OA ที่สามารถใช้ได้ในทุกกลุ่มวัยเพิ่มการเข้าถึงในช่องทางอื่น ๆ ด้วย

References

กองกิจการเพื่อการพัฒนา กรมองค์การระหว่างประเทศ. เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals : MDGs) [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: http://www.mfa.go.th/main/th/issues/42456เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ.html.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2561. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี; 2561.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12(พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร;2559

กรมอนามัย. แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

กระทรวงสาธารณสุข. หนุนใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพยกระดับคุณภาพบริการ[อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: shorturl.asia/SU9uG.

สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย. ปัญหาสุขภาพคนไทยและระบบบริการสุขภาพ[อินเตอร์เน็ต]. 2552.[เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: http://www.hisro.or.th./main.

สุกัญญาประจุศิลป์ และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. สุขภาพและระบบบริการสุขภาพประชากรชุมชนเมืองกรุงเทพมหานคร.จุฬาสัมพันธ์ 2549; 49(30): 6-7.

ไพเราะผ่องโชค. การพยาบาลอนามัยชุมชน.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง จำกัด; 2550.

สุมนกาญจน์ ลาภกิตติเจริญชัย. ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาผ่านไลน์ แอพพลิเคชั่น ที่มีต่อความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง. วารสารกรมการแพทย์.2563; 45(3).

กิตติยา มหาวิริโยทัย, ดวงรัตน์ วัฒนกิจ ไกรเลิศ และอัจฉริยา พ่วงแก้ว. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลแรงจูงใจ และทักษะการเฝ้าระวังตนเองผ่านแอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลศาสตร์.2563; 39(1)

ชาญชัย บุญเชิด. การติดตามผู้ป่วยพิการติดเตียง มะเร็ง และการดำเนินงานเภสัชกรรมปฐมภูมิโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์(LINE) ในเขตพื้นที่ตำบลโพนงาม หนองหมีกำแมด เทศบาลตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุมจังหวัดยโสธร.วารสารวิชาการสาธารณสุข.2561; 27(5).

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. Determining sample size for researchact ivit ies . E ducat iona l an d Psychological Measurement 1970; 30: 607 - 610.

Jha, A. S. Social Research Methods, McGraw Hill Education; 2014.

พิรีย์ วังทอง. ประสิทธิผลการฝึกอบรมการสื่อสารอย่างสันติของบุคลากรโรงเรียนเพลินพัฒนา.วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย.2558; 10(1).

Best, J. Research in Education. New Jersey:Prentice Hall, Inc; 1977.

สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

Elifson, K. W. Fundamental of social statistics. New York: McGraw-Hill; 1990

พรรัตติกาล พลหาญ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ และ คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และทักษะการใช้ยาสูบโดยใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ต่อการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562; 20(3).

ทิพาพร ฉันชัยพัฒนา และแอนนา จุมพลเสถียร. ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อแอพพลิเคชั่น“ไลน์”(LINE) ในรูปแบบของการสื่อสารผ่านบัญชีอย่างเป็นทางการ(Official Accounts LINE). รายงานวิจัยคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556.

วิสา การบุญ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ข่าวสารผ่าน Line official account ของบุคลากรทางการแพทย์ [สารนิพนธ์].ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

ดาวรถา วีระพันธ์. ระบบสารสนเทศจัดการข้อมูลสุขภาพของบุคลากรและนักศึกษาด้วยเทคโนโลยีบาร์โค้ด. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.2561; 13(2).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-08-2022