สุขภาพใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คำสำคัญ:
สุขภาพใจ, ความเครียด, การปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องสุขภาพใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการศึกษาแบบเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ประชากรที่ศึกษาเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง 223 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน วิเคราะห์ค่า IOC เท่ากับ 0.67 และความเที่ยงตรงแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.84 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่ให้ข้อมูลได้ดีที่สุด จำนวน 7 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันที่ 1พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564 ใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอนุมาน Chi-square ในตัวแปรแจงนับ ใช้สถิติ Pearson Product Moment Correlation Coefficient ในตัวแปรต่อเนื่องและใช้สถิติ Stepwise Multiple Regression Analysis เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพใจ และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สุขภาพใจ (ระดับความสุข) ในประเด็นรู้สึกว่าชีวิตมีความสุข คิดเป็น ร้อยละ 67.3 รองลงมาคือรู้สึกภูมิใจในตนเอง คิดเป็นร้อยละ 65.9 ระดับความสุขพบว่า คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 27.76 (S.D. = 4.10) คะแนน การแปลผลคะแนนเฉลี่ยระดับความสุข อยู่ในระดับความสุขเท่าคนทั่วไป (Fair) คิดเป็นร้อยละ 47.1 โดยมีระดับความสุขมากกว่าคนทั่วไป (Good) คิดเป็นร้อยละ 38.6 และระดับความสุขต่ำกว่าคนทั่วไป (Poor) คิดเป็นร้อยละ 14.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพใจของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ, ฐานะทางการเงิน ส่วนรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวก (r = 0.196, p-value = 0.003) ปัจจัยความเครียด (ST5) มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางเชิงผกผัน (r = -0.464, p-value < 0.001) ปัจจัยสาเหตุของความเครียดในการทำงาน มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางเชิงผกผัน (r=-0.375, p-value < 0.001) และปัจจัยที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ ได้แก่เพศ (หญิง) รายได้ต่อเดือนหน่วยงานที่สังกัด (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ) ความเครียด (ST5) สาเหตุของความเครียดในการทำงาน โดยปัจจัยทั้ง 5 สามารถพยากรณ์ ได้ร้อยละ 21.5-34.5 ข้อเสนอแนะบุคลากรควรมีสติและระมัดระวังในการในการใช้ชีวิตมากขึ้น อยู่ห่างไกลกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ ปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA อย่างเคร่งครัด ควรทำจิตใจให้มีความสุขในสถานการณ์โรคโควิด-19 มองสถานการณ์ตามความเป็นจริง และควรมีการสนับสนุนควรจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ สำหรับบุคลากรใช้โดยทั่วถึง
References
Wold Health Organization. [Internet]. 2020. [Cited 2020 Mar 21]. Available from: http://www.who.int/emergencies/disease/novel-coronavirus-2019/
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 677 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ วันที่12 พฤศจิกายน 2564]; เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situationno677-101164.pdf
เอกลักษณ์ แสงศิริรักษณ์ และสิรินรัตน์ แสงศิริรักษณ์. ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.2563;65(4), 400-408.
Jianbo Lai, Simeng Ma, Ying Wang, Zhongxiang Cai. Factors Associated with Mental Health Outcomes Among Health Care Workers Exposed to Coronavirus Disease 2019. JAMA Net Open. 2020; 3(3): e203976. doi: 10.1001/jamanetworkopen.2020.3976.
สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย. นโยบายสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและความสุขของคนทำงาน (Healthy Workplace Happy for life) [เอกสารอัดสำเนา]. 2563.
อภิชัย มงคล, วัชนีหัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์ โชติศักดิ์, วรรณประภา ชลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่,สุจริต สุวรรณชีพ. ความสุขและสุขภาพจิตในบริบทสังคมไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์. 2544; 46.
งานการเจ้าหน้าที่ กลุ่มอำนวยการ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น.จำนวนบุคลากร ปี 2564. [เอกสารอัดสำเนา]. 2564.
ฐาปนี วังกานนท์. ผลกระทบของปัจจัยในการทำงานต่อความเครียดของพนักงาน:กรณีศึกษา บริษัทแอมพาสอินดัสตรี้ จำกัด.2556.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเครียด (ST5) [อินเตอร์เน็ต].2559. [เข้าถึงเมื่อวันที่30 กันยายน 2564];เข้าถึงได้จาก:https://www.dmh.go.th/covid19/test/qtest5/
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ (Thai Mental Health Indicator Version 2007 = TMHI-15) [อินเตอร์เน็ต]. 2550. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564]; เข้าถึงได้จาก:https://www.dmh.go.th/test/thaihapnew/thi15/thi15.asp2550.
สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยาคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2547.
อรวรรณ เลิศไกร. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช.การศึกษาอิสระวิชาเอกบริหารธุรกิจ สาขาวิทยบริการ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัย
รามคำแหง จังหวัดนครศรีธรรมราช. 2561.
จิตรดา วรรณ์ไขคำ และกัญญลักษณ์ ทองนุ่ม. ศึกษาความสุขและความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรพยาบาลสถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 2556;7(1), 1-10.
วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19).วารสารแพทย์เขต. 2563; 39(4), 616-627.
Kisely S, Warren N, McMahon L, Dalais C, Henry I, Siskind D. Occurrence, prevention, and management of the psychological effects of emerging virus outbreaks on healthcare workers:
rapid review and meta-analysis. BMJ 2020; 369:1642.
นภัสจันท์ มงคลพันธ์, เธียรชัย งามทิพย์ วัฒนา, สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์และวิชัย มนัสศิริวิทยา. ความสุขในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลตติยภูมิ.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2560; 34(2),87-99.
Dai Y, Hu G, Xiong H, Qiu H, Yuan X. Psychological impact of the coronavirus disease 2019 (COVID-19) outbreak on healthcare workers in China. Med Rxiv. 2020. doi: https:// doi.org/10.1101/2020.03.03.20030874
นภัชชล รอดเที่ยง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงาน ของบุคลากรที่สังกัดศูนย์อนามัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข .มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ. 2550.
จิตริน ธรรมสูน. ความสุขในการทำงานของบุคลากร : กรณีศึกษา สำนักงานสาธารณสุข จ.นครศรีธรรมราช. วิชาเอกบริหารธุรกิจสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2563.
ไพรัช บำรุงสุนทร.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขของบุคลากรด้านสุขภาพ เครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง.วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2561; 4(1), 22-35.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง