ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็ก เขตสุขภาพที่ 7

Development of Early Childhood in The Area Health Region VII

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา บุญเจียม ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก คุณภาพชีวิตของผู้เลี้ยงดูเด็ก เขตสุขภาพที่ 7 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลของ     ผู้เลี้ยงดู คุณลักษณะส่วนบุคคลของเด็ก พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก และคุณภาพชีวิตของผู้เลี้ยงดูเด็กกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 7 ด้วยการสัมภาษณ์ผู้เลี้ยงดู จำนวน 800 คน ใช้เครื่องมือแบบประเมินคุณภาพชีวิต พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของผู้เลี้ยงดู ตรวจสุขภาพช่องปากของเด็ก และตรวจพัฒนาการเด็กด้วยเครื่องมือ Denver II จำนวน 800 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ (Multiple Logistic Regression) ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 56.8 พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของผู้เลี้ยงดู อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.4 คุณภาพชีวิตของผู้เลี้ยงดู อยู่ในระดับดี ร้อยละ 77.1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 7 มี 6 ปัจจัยคือ 1) ช่วงอายุของเด็ก (AOR = 2.8; 95%CI: 2.02 to 3.97; p-value < 0.001)       2) อายุบิดา (AOR = 2.5; 95%CI: 1.81 to 9.15; p-value 0.007) 3) โรคประจำตัวของเด็ก (AOR = 1.9; 95%CI: 1.15 to 3.42; p-value 0.032) 4) ฟันผุ (AOR = 1.5; 95%CI: 1.14 to 2.05; p-value 0.026)      5) เล่านิทาน/เล่าเรื่องให้เด็กฟัง (AOR = 1.5; 95%CI: 1.12 to 2.06; p-value 0.007) และ 6) รายได้ครอบครัว (AOR = 1.4; 95%CI: 1.12 to 1.87; p-value 0.035) ดังนั้นเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยต้องส่งเสริมให้มีบุตรช่วงวัยเจริญพันธุ์ มีการวางแผนครอบครัว ฝากครรภ์ตามนัด ดูแลและป้องกันไม่ให้เด็กมีโรคประจำตัว ผู้เลี้ยงดูต้องมีการเล่านิทานหรือเล่าเรื่องให้เด็กฟัง ดูแลสุขภาพช่องปากเด็กให้ดีไม่ให้มีฟันผุ การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัยของเด็กต้องทำอย่างต่อเนื่อง และสร้างงานสร้างอาชีพในชุมชน เพื่อสร้างรายได้แก่ผู้เลี้ยงดู ให้ครอบครัวมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต

References

1. Walker SP, Wachs TD, Gardner JM, Lozoff B, Wasserman GA, Pollitt E, et al. Inequality in Early Childhood: Risk and Protective Factors for Early Child Development. Elsevier Ltd all Rights Reserved 2011; 378(9799): 1325-38.
2. นิตยา คชภัคดี. พัฒนาการเด็ก. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ : บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2552.
3. Walker SP, Wachs TD, Gardner JM, Lozoff B, Wasserman GA, Pollitt E, et al. Child development in developing countries 2: Child development: risk factor for adverse outcome in developing countries 2007;164(2344): 145-57.
4. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โครงการสำรวจสถานการณ์พัฒนาการและพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของครอบครัวไทย ปี 2560. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
5. สำนักสถิติแห่งชาติ. การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมทั่วราชอาณาจักรและสำมะโนประชากรและเคหะ; 2560.
6. สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. พัฒนาการเด็กปฐมวัย รากแก้วแห่งชีวิต.พิมพ์ครั้งที่ 1: บริษัท สหมิตรพริ้นแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด; 2557.
7. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2564. นนทบุรี; 2564.
8. Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998;17: 1623-34.
9. Bloom BS. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.
10. Group W. Development of the world health organization WHOQOL-BREF quality of life assessment. Psychological medicine 1998; 28(3): 551-58.
11. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์พัฒนาการและพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของครอบครัวไทย ปี 2558. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
12. สุพัตรา บุญเจียม. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตผู้เลี้ยงดูเด็กกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2564; 13(1): 3-20.
13. American Academy of Pediatrics. Media and children educated health of all children; [Online]. 2014 [cited 2021 Jun 12]. Available from: http://www.aap.org/en-us/advocacy-and-policy/aap-health-initiatives/ Pages/Media-and-Children.aspx.
14. อายุ 40 มีลูกได้ไหม มีโอกาสตั้งครรภ์แค่ไหน. [ออนไลน์]. 2564 [สืบค้น 19 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://worldwideivf.com/others/อายุ-40-มีลูกได้ไหม/.
15. กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. การส่งเสริมพัฒนาการเด็กป่วยวัยก่อนเรียน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2557; 17(34): 155-67.
16. สุพัตรา บุญเจียม. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 7 . วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2559; 8(1): 15-29.
17. พนิต โล่เสถียรกิจ. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ปี 2557. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
18. สุธรรม นันทมงคลชัย. ครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู และพัฒนาการเด็กปฐมวัยในประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2559; 46(3): 205-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-03-2022