สถานการณ์มารดาตาย เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • จันทิยา เนติวิภัชธรรม ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ทัตพิชา คลังกลาง ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ชนัตถ์ มาลัยกนก ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการตายของมารดา แนวทางการป้องกัน และข้อเสนอแนะในการลดการตายของมารดาให้ลดน้อยลง เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective review) ในปีงบประมาณ 2560 – 2562 ของเขตสุขภาพที่ 7  ข้อมูลที่เก็บ คือ จำนวนสตรีคลอด มารดาเสียชีวิตขณะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด แบบจากแบบรายงานการตายของมารดา (Confidential Enquiries – CE) ของสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย 2558 และแบบรายงาน ตก. 2  ของกองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2560 ถึง 30 กันยายน  2562

วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ อัตราส่วนการตายมารดา

ผลการศึกษาในเขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2560 – 2562 พบว่า มีอัตราส่วนการตายเป็น 11.25, 19.29 และ 16.47 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน มีมารดาตายทั้งหมด  16 ราย เป็นสาเหตุทางตรงร้อยละ 50   (8ราย) และสาเหตุทางอ้อมร้อยละ 50 (8ราย) โดยสาเหตุที่พบบ่อย 3 ลำดับแรก คือ ภาวะน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด, ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารและลำไส้อย่างรุนแรง ซึ่งสาเหตุทางตรงพบว่ายังมีสาเหตุการตายของมารดาจากภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งเป็นสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ แต่ไม่พบสาเหตุการตายจากการตกเลือดหลังคลอด ดังนั้นมาตรการในการลดการตายมารดานอกจากมาตรการลดการตายจากความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์แล้ว ยังต้องเน้นการคัดกรองและเฝ้าระวังความเสี่ยงรายบุคคลจากโรคทาง        อายุรกรรมเพื่อคัดกรองค้นหาโรค ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของมารดาทางอ้อมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-01-2021