การเฝ้าระวังและการบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการตลาดควบคุมและส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 ในเขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • จันทิยา เนติวิภัชธรรม ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ทัตพิชา คลังกลาง ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ชนัตถ์ มาลัยกนก ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับแม่ข่ายในการเฝ้าระวังติดตาม แนวทางการบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการตลาดควบคุมและส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 ในเขตสุขภาพที่ 7 ตั้งแต่เดือนธันวาคม  2562 ถึงเดือนกันยายน 2563 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยผู้วิจัยให้ทางจังหวัดคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามคุณลักษณะ ตามประกาศกระทรวง เรื่องการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบฯ ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป  สำนักงานสาธารณสุขระดับอำเภอระดับแม่ข่าย โรงพยาบาลระดับแม่ข่ายและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลแม่ข่ายทั้ง 16  Node รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 102 ราย  ตอบแบบสอบถามความรู้และความเข้าใจตาม พ.ร.บ.ฯ จำนวน และมีขั้นตอนการดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ คือ1) การพัฒนาศักยภาพ มีการจัดประชุมการประชุมพัฒนาศักยภาพและถอดบทเรียนพนักงานเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560 วันที่ 18   ธันวาคม 2562 โดยใช้คู่มือพระราชบัญญัติการส่งเสริมการตลาดควบคุมและส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 คู่มือคำอธิบายพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็ก พ.ศ. 2560 (พ.ร.บ. นมผง) และคู่มือการเฝ้าระวังติดตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการตลาดควบคุมและส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 และ2) ติดตามประเมินผลเป็น 2 ระยะ ดังนี้คือ 2.1) การพัฒนาศักยภาพ โดยการประเมินผลก่อนและหลังการประชุม ใช้แบบสอบถาม ความรู้และความเข้าใจต่อพรบฯ และร่วมพัฒนาแผนเชิงรับและเชิงรุกเพื่อการเฝ้าระวังติดตามพรบฯ ตอบแบบสอบถามความรู้และความเข้าใจตาม พ.ร.บ.ฯ จำนวน 72 ราย   2.2) กำกับติดตาม โดยใช้แผนเชิงรับและเชิงรุกโดย การเยี่ยมเสริมพลังและตรวจราชการ ผลการวิจัยพบว่า หลังการประชุมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายในการเฝ้าระวังติดตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการตลาดควบคุมและส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 ในเขตสุขภาพที่ 7 ในการเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังติดตามพรบฯ. แก่ผู้รับผิดชอบมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการประชุม  17.77  เพิ่มมากขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการประชุม 12.78  แสดงว่าการให้ความรู้ยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพ  และพื้นที่ได้เรียนรู้การติดตามกำกับการดูแลทั้งเชิงรุกและเชิงรับที่ได้ทำร่วมกันโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพรบ.ฯ ในโรงพยาบาลระดับแม่ข่าย ( Node) ทั้ง 16 แห่ง สามารถเฝ้าระวังกำกับและติดตาม พรบ.ฯ และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 4 จังหวัด ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ร้านค้าในโรงพยาบาล ผู้ประกอบการร้านค้า และโรงงาน อย่างเข้มแข็งมากขึ้น และไม่พบการละเมิดในพื้นที่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-01-2021