การพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • วิชัย ศรีผา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม , ฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) ,               อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)

บทคัดย่อ

การพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)

ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ

Developing environmental health literacy to tackle the problem of microscopic

Particles (PM2.5) in the village health volunteers , Sophisai District , Buengkan Province

นายวิชัย  ศรีผา  สาธารณสุขอำเภอโซ่พิสัย

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโซ่พิสัย อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ 38170

Telephone:  088 509 7446

e-mail :  [email protected]

บทคัดย่อ

                   อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ในเดือนมกราคม พ.ศ.2564 วัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ที่หน้าโรงพยาบาลโซ่พิสัย อ.โซ่พิสัย เฉลี่ยค่าฝุ่นอยู่ที่ 71.10 มคก./ลบ.ม. และสูงเกิน 50 มคก./ลบ.ม. เรื่อยมาซึ่งเป็นระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งเกิดจากเกษตรกรมีการเผาไร่นาเพื่อกำจัดเศษวัชพืชหรือเศษซากพืชที่เหลืออยู่ภายหลังการเก็บเกี่ยว และการเผาเศษใบไม้ใบหญ้าอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

                   การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5 )ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ

โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) 4 ขั้นตอน ตามแนวคิดของ Kemmisและ McTaggart ได้แก่การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การสังเกตผล และการสะท้อนผล มีกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จำนวน 56 คน ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้คือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่การแจกแจงความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)  โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) เป็นค่าที่วัดความสัมพันธ์ และการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent samples)

ระยะเวลาในการดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน พ.ศ.2564

              ผลการวิจัย พบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรมการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม การเข้าใจข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อมและการตัดสินใจเพื่อป้องกันสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) โดยรวม ของกลุ่มทดลอง หลังดำเนินการ มากกว่า ก่อนดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

              ส่วนการประชุมกลุ่มพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม การเข้าใจข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม และการตัดสินใจเพื่อป้องกันสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) ได้แก่ พฤติกรรมการเฝ้าระวังสุขภาพตนเองและชุมชนจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) และพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)

              จากผลการวิจัยนี้ สะท้อนให้เห็นว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) อำเภอโซ่พิสัย จังหวัด
บึงกาฬ สามารถการเข้าถึงข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ ส่งผลให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) มีความเข้าใจข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม สามารถตรวจสอบข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อมและการตัดสินใจเพื่อป้องกันสุขภาพได้ ทำให้มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีพฤติกรรมการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่งผลให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) ภายหลังดำเนินการ

 

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-03-2022