ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้า ของเด็กปฐมวัยในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Sirirat Chattakul ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การ
เกิดพัฒนาการสงสัย ล่าช้า และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย
กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือน ถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ที่มารับบริการในคลินิก
สุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น จำนวน 630 คน ในระหว่าง
เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม พ.ศ.2564 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์บิดามารดา หรือผู้ดูแลเด็ก
สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และประเมินพัฒนาการเด็กด้วยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กปฐมวัยและคู่มือการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
สถิติเชิงพรรณนา และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple logistic regression analysis)
ผลการวิจัยพบอุบัติการณ์การเกิดพัฒนาการสงสัยล่าช้าร้อยละ 17.5 โดยเป็นพัฒนาการ
สงสัยล่าช้าในด้านการใช้ภาษามากที่สุดร้อยละ 11.0 รองลงมาคือ ด้านการเข้าใจภาษา ด้านการ
ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ด้านการเคลื่อนไหว และด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม
ร้อยละ 9.0, 7.1, 6.0 และ 3.3 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของ
เด็กปฐมวัย ได้แก่ การได้รับยาธาตุเหล็กเสริมไอโอดีนระหว่างตั้งครรภ์ของมารดา (Adjusted OR =
2.66, 95%CI: 1.62-4.36, p-value < 0.001) เพศของเด็ก (Adjusted OR = 1.88, 95%CI: 1.19-
2.99, p-value = 0.007) อายุของเด็ก (Adjusted OR = 2.44, 95%CI: 1.45-4.11, p-value = 0.001)
ระยะเวลาการกินนมแม่ (Adjusted OR = 1.81, 95%CI: 1.14–2.89, p-value = 0.012) การคลอด
ก่อนกำหนด (Adjusted OR = 3.17, 95%CI: 1.62–6.22, p-value = 0.001) ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ
(Adjusted OR = 3.47, 95%CI: 1.39–8.67, p-value = 0.008) อาชีพของมารดา (Adjusted OR =
0.35, 95%CI: 0.16–0.77, p-value = 0.009) และโรคประจำตัวของผู้ดูแล (Adjusted OR = 2.11,
95%CI: 1.25–3.55, p-value = 0.005) ดังนั้นควรมีการคัดกรอง วางแผนและพัฒนาแนวทางใน
การป้องกันพัฒนาการสงสัยล่าช้าในเด็กปฐมวัย นำไปสู่การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

Author Biography

Sirirat Chattakul, ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การ
เกิดพัฒนาการสงสัย ล่าช้า และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย
กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือน ถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ที่มารับบริการในคลินิก
สุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น จำนวน 630 คน ในระหว่าง
เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม พ.ศ.2564 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์บิดามารดา หรือผู้ดูแลเด็ก
สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และประเมินพัฒนาการเด็กด้วยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กปฐมวัยและคู่มือการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
สถิติเชิงพรรณนา และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple logistic regression analysis)
ผลการวิจัยพบอุบัติการณ์การเกิดพัฒนาการสงสัยล่าช้าร้อยละ 17.5 โดยเป็นพัฒนาการ
สงสัยล่าช้าในด้านการใช้ภาษามากที่สุดร้อยละ 11.0 รองลงมาคือ ด้านการเข้าใจภาษา ด้านการ
ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ด้านการเคลื่อนไหว และด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม
ร้อยละ 9.0, 7.1, 6.0 และ 3.3 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของ
เด็กปฐมวัย ได้แก่ การได้รับยาธาตุเหล็กเสริมไอโอดีนระหว่างตั้งครรภ์ของมารดา (Adjusted OR =
2.66, 95%CI: 1.62-4.36, p-value < 0.001) เพศของเด็ก (Adjusted OR = 1.88, 95%CI: 1.19-
2.99, p-value = 0.007) อายุของเด็ก (Adjusted OR = 2.44, 95%CI: 1.45-4.11, p-value = 0.001)
ระยะเวลาการกินนมแม่ (Adjusted OR = 1.81, 95%CI: 1.14–2.89, p-value = 0.012) การคลอด
ก่อนกำหนด (Adjusted OR = 3.17, 95%CI: 1.62–6.22, p-value = 0.001) ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ
(Adjusted OR = 3.47, 95%CI: 1.39–8.67, p-value = 0.008) อาชีพของมารดา (Adjusted OR =
0.35, 95%CI: 0.16–0.77, p-value = 0.009) และโรคประจำตัวของผู้ดูแล (Adjusted OR = 2.11,
95%CI: 1.25–3.55, p-value = 0.005) ดังนั้นควรมีการคัดกรอง วางแผนและพัฒนาแนวทางใน
การป้องกันพัฒนาการสงสัยล่าช้าในเด็กปฐมวัย นำไปสู่การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-08-2021