การวิจัยประเมินผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข ด้านบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ยุคใหม่สำหรับวัยรุ่นและสตรี เขตสุขภาพที่ 7 ในรูปแบบของเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick Model)

ผู้แต่ง

  • วิลาสินี วิบูลย์วัฒนากุล ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขด้านบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ยุคใหม่สำหรับวัยรุ่นและสตรี เขตสุขภาพที่ 7 ในรูปแบบของเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick Model)
เพื่อประเมินปฏิกิริยา (Reaction) ประเมินการเรียนรู้ (Learning) ประเมินพฤติกรรม (Behavior) และประเมินผลลัพธ์ (Results) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 29 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมิน
ความพึงพอใจและประเมินความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติ Paired Sample t-test นำเสนอเนื้อหาเชิงพรรณนา แสดง
จำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเพศหญิง ร้อยละ 96.8 เพศชาย ร้อยละ 3.2 อายุเฉลี่ย
40.4 ปี ตำแหน่ง เป็นพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ ร้อยละ 74.2 การศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 96.8 ประสบการณ์การทำงานฝังยาคุมกำเนิด ส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ ร้อยละ 90.3 ผลการประเมิน
พบว่า (1)ด้านปฏิกิริยามีความพึงพอใจด้านวิทยากร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.78 (S.D.= 0.15) แปลผล ระดับความพึงพอใจมากที่สุด ด้านความเข้าใจในเนื้อหาด้านยาฝังคุมกำเนิด พบว่า ก่อนการอบรมมี
ค่าเฉลี่ยน้อย 3.48(S.D.= 0.50) แปลผลระดับความพึงพอใจปานกลาง หลังการอบรมมีค่าเฉลี่ยมาก ที่สุด 5.00 (S.D.=0.00) แปลผลระดับความพึงพอใจมากที่สุด (2) ด้านการเรียนรู้ก่อนการอบรมระดับ
ความรู้ส่วนใหญ่มีเกณฑ์อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 79.3 หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีระดับความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100 ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value <0.001)
คะแนนเพิ่มสัมพัทธ์การเรียนมีระดับการพัฒนาในระดับปานกลาง-สูงร้อยละ 72.4 (3) ด้านพฤติกรรม สามารถฝังและถอดยาฝังคุมกำเนิดได้อย่างถูกต้อง (4) ด้านผลลัพธ์พบว่าสามารถฟื้นฟูความรู้รวมทั้ง
ประสบการณ์ ความชำนาญและความมั่นใจในการบริการมากขึ้น ข้อเสนอแนะ ควรเพิ่มระยะเวลา ในการฝึกปฏิบัติควรจัดหลักสูตรระยะสั้นๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนมาเรียนและปฏิบัติ

Author Biography

วิลาสินี วิบูลย์วัฒนากุล, ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

การวิจัยประเมินผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขด้านบริการอนามัยการเจริญ
พันธุ์ยุคใหม่สำหรับวัยรุ่นและสตรี เขตสุขภาพที่ 7 ในรูปแบบของเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick Model)
เพื่อประเมินปฏิกิริยา (Reaction) ประเมินการเรียนรู้ (Learning) ประเมินพฤติกรรม (Behavior)
และประเมินผลลัพธ์ (Results) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 29 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมิน
ความพึงพอใจและประเมินความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติ Paired Sample t-test นำเสนอเนื้อหาเชิงพรรณนา แสดง
จำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเพศหญิง ร้อยละ 96.8 เพศชาย ร้อยละ 3.2 อายุเฉลี่ย
40.4 ปี ตำแหน่ง เป็นพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ ร้อยละ 74.2 การศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ
96.8 ประสบการณ์การทำงานฝังยาคุมกำเนิด ส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ ร้อยละ 90.3 ผลการประเมิน
พบว่า (1)ด้านปฏิกิริยามีความพึงพอใจด้านวิทยากร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.78 (S.D.= 0.15) แปลผล
ระดับความพึงพอใจมากที่สุด ด้านความเข้าใจในเนื้อหาด้านยาฝังคุมกำเนิด พบว่า ก่อนการอบรมมี
ค่าเฉลี่ยน้อย 3.48(S.D.= 0.50) แปลผลระดับความพึงพอใจปานกลาง หลังการอบรมมีค่าเฉลี่ยมาก
ที่สุด 5.00 (S.D.=0.00) แปลผลระดับความพึงพอใจมากที่สุด (2) ด้านการเรียนรู้ก่อนการอบรมระดับ
ความรู้ส่วนใหญ่มีเกณฑ์อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 79.3 หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีระดับความรู้
อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100 ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value <0.001)
คะแนนเพิ่มสัมพัทธ์การเรียนมีระดับการพัฒนาในระดับปานกลาง-สูงร้อยละ 72.4 (3) ด้านพฤติกรรม
สามารถฝังและถอดยาฝังคุมกำเนิดได้อย่างถูกต้อง (4) ด้านผลลัพธ์พบว่าสามารถฟื้นฟูความรู้รวมทั้ง
ประสบการณ์ ความชำนาญและความมั่นใจในการบริการมากขึ้น ข้อเสนอแนะ ควรเพิ่มระยะเวลา
ในการฝึกปฏิบัติควรจัดหลักสูตรระยะสั้นๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนมาเรียนและปฏิบัติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-08-2021