รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหาร ในเด็กวัยเรียนในเขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • กรแก้ว ถิรพงษ์สวัสดิ์
  • ศิวพร ขุมหิรัญ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • จันทร์ธรา สมตัว ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • มเหศักดิ์ ภูริวัฒน์ภากร ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ประภัสสรา พิศวงปราการ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ระวิวรรณ รัตนปัญญา ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • พรพรรณ นามตะ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ศิรยา พลราษฎร์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารในเด็กวัยเรียนและสร้างแนวทางในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนประชากรคือ เด็กนักเรียนประถมศึกษาในพื้นที่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคัดเข้าโดยความสมัครใจ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด จังหวัดละ1 ตำบล เป็นนักเรียน
ที่มีอายุ 9-12 ปี ในครอบครัวที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ โดยจะต้องมีผู้ปกครอง ได้แก่ บิดาหรือมารดาหรือ ปู่ ย่า ตา ยาย ท่านใดท่านหนึ่งเข้าร่วมกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาเชิงโครงสร้างผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารในเด็กวัยเรียน ประกอบด้วย
การตั้งเป้าหมายในการปรับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การพัฒนาองค์ความรู้อาหารที่ควรบริโภคและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง การสร้างแรงเสริมพฤติกรรมทางบวกโดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการเสริมแรงและการสนับสนุนที่บ้าน การเฝ้าระวังพฤติกรรมบริโภคโดยตนเองของนักเรียนและเพื่อน การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และการประเมินผลพฤติกรรมการบริโภคร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง เด็กและ พยาน กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติตามรูปแบบครบ 2 เดือน พบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่พึงประสงค์ของเด็กวัยเรียนมีอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนทั้งสองตำบล โดยตำบลเสาเล้า เพิ่มจากร้อยละ 37.1 เป็นร้อยละ 88.6 และตำบลปอภารเพิ่มจากร้อยละ 63.1 เป็นร้อยละ68.4 ตามลำดับ ดังนั้นควรมีการนำรูปแบบการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคครั้งนี้ใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-08-2021