พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์พฤติกรรม การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศึกษาปัจจัยด้านลักษณะทางสังคม ประชากรของผู้เลี้ยงดู และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะทางสังคมประชากรของ ผู้เลี้ยงดูกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูด้วยการสัมภาษณ์ผู้เลี้ยงดูเด็ก จำนวน 584 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ (Multiple Logistic Regression) ผลการวิจัยพบว่า ผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 93.3 อายุเฉลี่ย 40.4 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 13.8) อายุน้อยที่สุด 16 ปี และมากที่สุด 74 ปี พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การเลี้ยงดูเด็กของผู้เลี้ยงดู มี 2 ปัจจัยคือ 1) การอาศัยอยู่กับบิดามารดาของเด็ก (AOR = 2.0; 95%CI: 1.26 to 3.24; p-value 0.003) 2) ครอบครัวขยาย (AOR = 1.7; 95%CI: 1.11 to 2.78; p-value 0.043) ดังนั้นการสร้างเสริมให้ผู้เลี้ยงดูมีพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่เหมาะสมต้องส่งเสริม ให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน เด็กได้อยู่กับบิดามารดา จะสามารถสร้างพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสมแก่ผู้เลี้ยงดูได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง