การรับรู้การล่วงละเมิดทางเพศของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดขอนแก่น The Perception on Sexual Harassment of University Students in KhonKaen Province
คำสำคัญ:
ล่วงละเมิดทางเพศ การรับรู้พฤติกรรม ประสบการณ์ วิธีการเผชิญปัญหา ผลกระทบ sexual harassment, perception on sexual harassment in terms of behaviors, experiences, coping, effectsบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้พฤติกรรม ประสบการณ์ วิธีการเผชิญปัญหาและผลกระทบจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศของนักศึกษามหาวิทยาลัย ในจังหวัดขอนแก่น ศึกษาในนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 หลักสูตรภาคปกติ ที่กำลังศึกษาภาคต้นปีการศึกษา 2558 ของรัฐและเอกชนจำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการหาค่าความตรงและความเที่ยงโดยใช้สูตร Kuder Richardson: KR 20 ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 โดยสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อ 1) พฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศ 2) ประสบการณ์การพบเห็นการล่วงละเมิดทางเพศและการถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยตรง 3) วิธีการเผชิญปัญหาเมื่อถูกล่วงละเมิดทางเพศ 4) ผลกระทบจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความแปรปรวนทางเดียว
ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษามีการรับรู้พฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศโดยรวมของเพศทางเลือกร้อยละ 61.5 เพศหญิงร้อยละ 55.7 และเพศชายร้อยละ 48.7 ซึ่งการรับรู้ในแต่ละด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)โดยนักศึกษามีประสบการณ์โดยตรงจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 31 (เพศทางเลือกร้อยละ 60, เพศชายร้อยละ 32.7,เพศหญิงร้อยละ 29.1 ตามลำดับ) ซึ่งนักศึกษาที่เคยมีประสบการณ์โดยตรงในแต่ละเพศมีการใช้วิธีการเผชิญปัญหาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value > 0.05) ด้านการใช้วิธีการเผชิญปัญหาพบว่านักศึกษามีการใช้ทั้งรูปแบบมุ่งเน้นอารมณ์และมุ่งเน้นการแก้ปัญหา และนักศึกษาในแต่ละเพศได้รับผลกระทบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) ซึ่งผลกระทบที่ได้รับจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ คือ ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านการเรียน ด้านพฤติกรรมการเข้าสังคมและด้านสุขภาพจิต โดยมีผลกระทบต่อทุกด้านกับนักศึกษา ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรมีการจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกับกลุ่มนักศึกษาที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
Abstract
This study aimed to study the perception of university students in Khon Kaen Province on sexual harassment in terms of behaviors, experiences of coping strategies, and the effects from the sexual harassment. The participants were 400 fourth-year undergraduate students, first semester of academic year 2015. All of them were studying in the universities under the Higher Education Commission, Ministry of Education, Muang District of Khon Kaen Province. The samples were selected using the multi-stage random sampling. Through questionnaires, which determine the validity and reliability using the formula. Kuder Richardson(KR 20) coefficient was 0.83 with the confidence of a questionnaire inquiring about the reviews, and divided into four main parts: 1) the recognition of sexual harassment behaviors; 2) experiences from being sexually harassed; 3) coping strategies with sexual harassment; and 4) the effects from sexual harassment. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and analysis of variance
The results showed that students perceived sexual harassment of Lesbian Gay Bisexual and Transgender (LGBT) students with 61.5%, female (55.7%) and male (48.7%).Their perception on sexual harassment of LGBT in different gender is significantly different (p-value <0.05). The samples had experienced on sexual harassment by 31 % and from LGBT 60 %, male 32.7 % and female 29.1 %, respectively. They used strategies to coping with the problems in each gender are non - significantly different (p-value > 0.05).The model of emotional focused coping and problem focused coping were used. In term of gender, there are non - significantly different (p-value > 0.05). The impacts of sexual harassment affected to emotional, physiological, learning, social behavior and psychological aspect of student. Therefore, the university should establish a counseling center for the victims.