การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน Development of Health Service System for Older adults in the Community
คำสำคัญ:
ระบบบริการสุขภาพ ผู้สูงอายุ ชุมชน Health Service System, Older person, Communityบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีแนวคิดเรื่องระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เป็นกรอบแนวคิดเชิงเนื้อหา และวงจรวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นแนวคิดเชิงกระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสะท้อนการปฏิบัติการ และการปรับปรุงแผนการปฏิบัติการ ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลระบบการบริการสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย บุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ เก็บข้อมูลโดยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการศึกษาเอกสาร ระยะเวลาดำเนินการวิจัย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 ถึง เดือนมิถุนายน 2558 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลของการศึกษา พบว่าผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน มีดังนี้ 1. ร้อยละ 81.39 ของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลที่บ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อการได้รับการดูแลที่บ้าน 2. มีฐานข้อมูลของผู้สูงอายุครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 3. มีการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดบริการที่บ้าน 4. มีระบบกลไกในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน และ 5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุ
Abstract
This participatory action research aimed to develop a community health service system for older adults. The concept of health service system and spiral action cycle were used as conceptual framework of this mutual collaborative action research. Research was divided into three phases. Phase I: situational analysis. Phase II: development of health services for the older adult in the community that consisted of 4 steps; planning, operation, reflection of action and improvement of action plan. Phase III: evaluate the effectiveness of the older adult health service system in the community. Participants were health care professional, health volunteers, older adult care volunteers. Data were obtained through participatory observations, in-depth interviews, focus group discussion, and document analysis, during July 2014 to June 2015. Quantitative data were analyzed using frequencies and percentages, Qualitative data were analyzed by content analysis method.
Results of the development of health service system for older adult in the community are as follow. Approximately 81% of the dependent older adults were taken care of at home at least once a month and older adults were satisfied with receiving care at home. The older adult database covered all villages. There were supports of materials needed for home health services. The mechanism of caring for older adult in the community was developed and the local government organizations provided financial supports for older adult care in the community.