ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกของข้าราชการครูในระยะเปลี่ยนผ่าน ของการเกษียณอายุราชการ Factors Related to Well-Being in Government Teachers During Retirement Transition
คำสำคัญ:
ความผาสุก ข้าราชการครู ระยะเปลี่ยนผ่าน การเกษียณอายุราชการ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ well-being, teachers, transition, retirement, associated factorsบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ผู้สูงอายุที่เข้าสู่การเปลี่ยนผ่านในช่วงการเกษียณอายุราชการจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ และเศรษฐกิจ ซึ่งถือว่าเป็นภาวะวิกฤตในชีวิต การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของ ความผาสุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกของข้าราชการครูในระยะเปลี่ยนผ่านหลังการเกษียณอายุราชการ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครูที่อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านหลังการเกษียณอายุราชการ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี จำนวน 100 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามทัศนคติต่อการเกษียณอายุราชการ แบบสอบถามการเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุราชการ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินความผาสุกโดยทั่วไป ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .78, .79, .73, .90, .81 และ .75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผาสุกโดยรวมอยู่ในระดับสูงโดยมีคะแนนเฉลี่ย 83.43 (SD = 11.80) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาวะสุขภาพ การเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุราชการ และทัศนคติต่อการเกษียณอายุราชการ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผาสุกของข้าราชการครูในระยะเปลี่ยนผ่านของการเกษียณอายุราชการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .48 ; .44 ; .38 ; .36, p < .01 และ r = .24, p < .05 ตามลำดับ)จากผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรพัฒนาโครงการส่งเสริมความผาสุกของข้าราชการครูหลังเกษียณอายุราชการ โดยเน้นการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาวะสุขภาพ ทัศนคติต่อการเกษียณอายุราชการ และมีการส่งเสริมการเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุราชการ
Abstract
The elderly in retirement period experience physical, psychosocial, spiritual, and financial transitions. Some of them consider those changes as life crisis. This research aimed to examine level of well–being and factors associated with well-being during retirement transition. Study sample included 100 teachers who were in retirement period of Primary Education Service Area Office in Saraburi province. Simple random sampling was used to recruit subjects. Research instruments consisted of health perception, perceived self-esteem, attitude towards retirement, pre-retirement preparation, social support, and perceived well–being. The Cronbach’s alpha coefficients of the above-mentioned questionnaires were .78, .79, .73, .90, .81 and .75, respectively. Descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation were employed to analyze the data.
Findings revealed that the level of overall well-being among the sample was high with the average score of 83.43 (SD = 11.80). Correlation analysis demonstrated that perceived self-esteem, social support, health perception, pre-retirement preparation, and attitude towards retirement positively correlated with level of perceived well-being among the retired teachers during retirement transition (r = .48, .44, .38, .36; p < 01 and r = .24; p < .05 respectively). In conclusion, findings suggest that nurses and health professionals can develop health promotion project focuses on well-being promotion by improving their self-esteem, social support, health perception, attitude towards retirement, and promoting pre-retirement preparation.