การพัฒนาระบบการพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยบาดเจ็บที่มีภาวะช็อก ตามหลักการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บอาการหนัก จังหวัดอุบลราชธานี The Improvement on the Emergency Nursing Care System for Traumatic Patient with Shock Based on the Major Trauma Medical Care Principle of Ubo

ผู้แต่ง

  • วิมลวรรณ พลบุรี
  • ประภาพร สุวรัตน์ชัย
  • สุปราณี ชูรัตน์
  • ณัฐปภัสร์ สังข์ทอง

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ ผู้ป่วยบาดเจ็บ ภาวะช็อก System development, Trauma patient, shock

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

ปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บอาการหนักเสียชีวิตมากที่สุด คือ ภาวะช็อก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยถูกส่งต่อมารับการรักษา การพัฒนาระบบส่งต่อจึงเป็นนโยบายสำคัญในระบบสุขภาพ เพื่อการเข้าถึงบริการฉุกเฉินอย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาระบบการพยาบาล เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยบาดเจ็บที่มีภาวะช็อกในจังหวัดอุบลราชธานี

รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) ประกอบด้วยการศึกษาภาคตัดขวาง (Cross sectional study) เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน แบบบันทึกผู้ป่วยส่งต่อวิกฤตและใบส่งต่อ ระหว่าง เดือนตุลาคม พ.ศ.2557 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ.2559 ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยบาดเจ็บที่มีภาวะช็อก จำนวน 381 ราย และการสัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพและผู้บริหารการพยาบาลแผนกฉุกเฉินในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 5 แห่ง

                ผลการวิจัย พบว่า การประเมินผู้ป่วยบาดเจ็บที่มีโอกาสเกิดภาวะช็อก ประเมินได้ถูกต้องและครบถ้วน ในโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 71.4 จำแนกตามกระบวนการพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยบาดเจ็บที่มีภาวะช็อก 4 ขั้นตอน การประเมินทางเดินหายใจและภาวะคุกคามต่อทางเดินหายใจ (Airway and Respiratory distress management) ร้อยละ85.2 การประเมินฟื้นสภาพจากภาวะช็อก (Resuscitation of shock) ร้อยละ 78.6 การประเมินเพื่อค้นหาสาเหตุของการสูญเสียเลือด (Investigation of head, chest, abdomen and pelvis) ร้อยละ78.2  และการจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาสูงสุด (Definitive care management) ร้อยละ 71.4 และผลจากการสัมภาษณ์ได้ผลและข้อเสนอแนะจากโรงพยาบาลชุมชน คือ แนวทางการระบุผู้ป่วยบาดเจ็บที่มีโอกาสเข้าสู่ภาวะช็อก แนวทางการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลฉุกเฉิน และแนวทางการบริหารจัดการและจัดสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการให้การพยาบาล

Abstract

Shock is the most leading cause of death among the severe traumatic patients. The improvement on the emergency nursing care system for traumatic patient with shock based on the major trauma medical care principle for the patient referred from the community hospital to the Sunpasittiprasong hospital. This research aimed to study on the outcomes of the improvement on the nursing care system in order to present the guideline of the improvement on the emergency nursing care system for traumatic patient with shock of Ubonratchathani province.

                This research was performed in the mixed- method including a cross sectional study and  retrospective data collection from the medical records, the record of referral form for the critical ill patient and the patient referral paper. The data were collected from the October 2014 to March 2016. The samples of the study were 381 traumatic patients with shock, and the interview of nurses who worked in the emergency department. Besides, the interviews 25  nursing administrators from five hospitals were performed.

                The study findings indicated that there was 71.4 % for the community hospital shown the complete and appropriate assessment on the traumatic patients who would presumably to develop into the shock patient. Moreover, there were some topics that need to be improved such as airway and respiratory distress management 85.2%, resuscitation of shock 78.6%, investigation of head, chest, abdomen and pelvis 78.2% and definitive care management 71.4%

According to the interview, there were some recommendations from the community hospital such as the guideline for indication of the patient with a highly possibility to develop into shock.  The skills that need to be reinforced and build up the confident are the abilities to assess the mechanism of injury and the initial assessment based on the major trauma medical care principle. On the other hand, the need of improvement for the central hospital who received the patient from the community hospital was the mutual understanding communication, the agreement on the guideline of improvement the emergency nursing care for traumatic patient with shock that put to practice in the same approach. 

Downloads