มุมมองของพยาบาลโรคไตที่มีต่อการนำเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคไตในงานประจำ
คำสำคัญ:
quality of life, nephrology nurse, quality of life measure คุณภาพชีวิต, พยาบาลโรคไต, เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
Evidences of quality-of-life (QOL) deterioration in dialysis patients are definite. Additionally, the association of and mortality in dialysis patients was well-established. The routine application of QOL measures is expected to reveal useful information for healthcare providers. However, routine QOL measure application is infrequent, most of QOL measure application is based on research purposes. This study was aimed to explore the perspectives of nephrology nurses on routine application of QOL measures in dialysis patients.
Methods: This study was an in-depth interview study using a semi-structured open-ended questionnaire. Sample of nephrology nurses was purposively selected using snowball technique method. Sample were nephrology nurses who have at least three-year experience on providing care for dialysis patients. The sampling was continued until data saturation was met.
Results based on in-depth interview of thirty nephrology nurses showed that all nurses concerned of patients’ QOL. The closer relationship between nurses and dialysis patients resulted in better understandings of patients’ QOL. However, in cases of un-experienced nurses or new patients, QOL measures might have a role of initiating discussion between nurses and patients. Some nurses (n=18) were familiar with some common QOL measures, but most nurses (n=24) had little knowledge of QOL measures. Nevertheless, all nurses accepted that QOL measures were valuable. Because of the time constraint in real-life dialysis clinic practice, nurses had no enough time to provide ideal optimal care concerning with patients’ QOL for all patients. Thus, most nurses (n=22) suggested that QOL measures should be routinely applied for a screening purpose to identify poor QOL patients. Then, nurses would individually and deeply further investigate patient problems, and help solving patient problems as much as possible. Most nurses (n=27) suggested that the ideal QOL measures should be concise, feasible, applicable, interpretable and informative. Few nurses (n=5) suggested that routine QOL application requires a computerized system for QOL data entering and score interpretation in a real-time fashion. In conclusions, QOL measures should be routinely applied for screening poor QOL patients that initiating discussion between nurses and patients.
หลักฐานเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตที่ลดลงของผู้ป่วยล้างไต ตลอดจนความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยด้วย การใช้เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตในงานประจำนั้น คาดหวังว่าจะทำให้ได้ข้อมูลที่ประโยชน์ต่อผู้ให้บริการรักษาพยาบาล อย่างไรก็ตาม การนำแบบวัดคุณภาพชีวิตมาใช้ในงานประจำพบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งส่วนใหญ่เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตจะถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการวิจัย การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจมุมมองของพยาบาลโรคไตเกี่ยวกับการนำแบบวัดคุณภาพชีวิตมาประยุกต์ใช้ในงานประจำเพื่อการดูแลผู้ป่วยล้างไต
การศึกษานี้เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยแบบสอบถามปลายเปิดกึ่งโครงสร้าง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเฉพาะเจาะจงด้วยวิธี snow ball ซึ่งต้องเป็นพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคล้างไตในมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี การสุ่มตัวอย่างดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนข้อมูลที่ได้อิ่มตัว
ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกพยาบาลโรคไตจำนวนทั้งสิ้น 30 คน พบว่าทุกคนให้ความใส่ใจต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยระบุว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยล้างไตจะก่อให้เกิดความเข้าใจในคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามในกรณีพยาบาลที่ยังขาดประสบการณ์หรือในกรณีที่เป็นผู้ป่วยรายใหม่ เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตจะมีบทบาทช่วยในการเริ่มต้นบทสนทนาระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยได้ ทั้งนี้ มีพยาบาลจำนวนหนึ่ง (n=18) ที่พอจะรู้จักเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตที่มีการใช้บ่อย แต่พยาบาลส่วนใหญ่ (n=24) มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตน้อยมาก อย่างไรก็ดีพยาบาลทั้งหมดยอมรับว่าเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตเป็นประโยชน์และมีคุณค่า เนื่องจากในการปฏิบัติงานจริงในคลินิกล้างไตมีข้อจำกัดด้านเวลา ดังนั้น พยาบาลจึงไม่มีเวลาเพียงพอที่จะให้การดูแลผู้ป่วยตามอุดมคติ และเข้าถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทุกราย พยาบาลส่วนใหญ่ (n=22) เห็นว่าควรนำเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตมาใช้ในงานประจำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่มีคุณภาพชีวิตแย่ หลังจากนั้นพยาบาลจึงทำการค้นหาปัญหาแบบเจาะลึกในผู้ป่วยเป็นรายบุคคลและหาทางช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยเท่าที่จะทำได้ โดยพยาบาลส่วนใหญ่ (n=27) มีความเห็นว่าเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตที่ดีในอุดมคติจะต้องสั้น กระชับ เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ แปลผลง่าย และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ดูแลผู้ป่วย นอกจากนี้พยาบาลบางคน (n=5) แนะนำว่าการประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตในงานประจำควรมีระบบคอมพิวเตอร์อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลและแปลผลเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ทันเวลาอย่างแท้จริง โดยสรุปเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตควรนำมาใช้ในงานประจำเพื่อช่วยคัดกรองผู้ป่วยที่มีปัญหาคุณภาพชีวิตแย่ อันจะช่วยเริ่มต้นบทสนทนาในการค้นหาปัญหาร่วมกันระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยต่อไป