การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
คำสำคัญ:
การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ Advanced Nursing Practice, Srinagarind Hospitalบทคัดย่อ
This research had objective to develop the advanced nursing practice model for Srinagarind Hospital. The action research was performed in order to develop an advanced nursing practice model for Srinagarind Hospital. Therefore, the study was divided into three phases; pre-phase, implementation phase, and evaluating and reflecting phase. The data was collected through in-dept interview and focused group discussion. The results showed that, every personnel group as well as the patients have acknowledged the APNs’ role and the satisfaction was ranked the highest scale.
The Advanced Practice Nurses in full function were able to continue both direct and indirect caring from the beginning of the admission till discharging, and the follow up at OPD clinic was also included. On the contrary, the APNs in the dual function could not continue their direct care because they were so tired from the over working load . Suggession ,if nursing divisions would apply to use these APN models it should be concerned about the patients population based as nursing organization needed .Including should have the strategic of good assignment to support this APN system.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในโรงพยาบาลศรีนครินทร์โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการและให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบที่ใช้ทดลองในการปฏิบัติงาน ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ ก) แบบเต็มบทบาท (Full function) สำหรับพยาบาลที่ได้รับวุฒิบัตรผู้ชำนาญการเฉพาะทาง จำนวน 2 คน และ ข) แบบผนวกบทบาท (Dual function) สำหรับพยาบาลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโททางการพยาบาลเฉพาะสาขา จำนวน 2 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะเตรียมการ ระยะทดลอง และระยะประเมินผลและสะท้อนผลการปฏิบัติงาน ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรทุกกลุ่มและผู้ป่วยรับรู้การปฏิบัติบทบาทของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง และมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติบทบาทในระดับมาก – มากที่สุดเป็นส่วนใหญ่ การปฏิบัติบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงเต็มบทบาท สามารถให้การพยาบาลทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมอย่างมีความต่อเนื่องและครบทั้ง 6 บทบาท ตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย และกลับมาตรวจตามนัดที่แผนกผู้ป่วยนอก ส่วนการปฏิบัติบทบาทของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงแบบผนวกบทบาท สามารถให้การพยาบาลทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อมตั้งแต่รับใหม่จนกระทั่งจำหน่าย แต่ยังขาดความต่อเนื่องและไม่ครบถ้วนตามที่วางแผนไว้ เนื่องจากความเหนื่อยล้าจากการขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาจากการขาดอัตรากำลัง จากผลการวิจัยมีข้อเสนอว่าหารงานบริการพยาบาลจะนำรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไปใช้ควรคำนึงถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องมี APN การมอบหมายงาน และลักษณะการปฏิบัติงานที่ไม่ให้ผู้ปฏิบัติเกิความเหนื่อยล้า