ประสบการณ์ของมารดาและการจัดการภาวะไข้ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

ผู้แต่ง

  • ทัศนียา วังสะจันทานนท์
  • อ้อมจิต ว่องวาณิช

คำสำคัญ:

ประสบการณ์ของมารดา, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี, การจัดการภาวะไข้ Mothers’ experience, under 5 years children, fever management.

บทคัดย่อ

The  objectives  of  this  qualitative  study were to investigate  mothers’  experience  on  the meaning of  and fever  management  in  their  children   and    factors related to fever management based on the mothers’ perceptions.  The  purposive  samples were  22  mothers  whose   0 – 5 yrs. children have  been  admitted  with  fever  at  Pediatric  Department , HRS  Princess  Maha  Chakri  Sirindhorn  Medical  Center.  Data  collection  methods  included  in-depth  interview, non –participant observation and field note. Content  analysis  was  used  to  guide  the interpretive  description  of  the  data. The findings of this study revealed that

(1)   change notification   was divided into two  main categories: (a)  primary  signs  and

symptoms and   behavior changing  associated with  fever,(b) the  change  of body temperature. (2) in fever management, the mothers  had  three main categories.  : (a) observing and monitoring fever , (b) fever reduction and (c) feeding  drinking water and rich nutrition food during fever. (3) the  factors related to fever management based on mothers’ perceptions were classified into   two categories :(a).  personal  factors and (b)the mother’s knowledge of fever caring. The findings provide information for healthcare professionals  to assess family perceptions,  health  education on  fever and guidelines  for  effective fever management .

 

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์ของมารดาเกี่ยวกับความหมายของภาวะไข้ของบุตร การจัดการ และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภาวะไข้ ตามการรับรู้ของมารดา กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาของผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า  5  ปี  จำนวน  22  ราย  ที่บุตรมีประวัติเข้ารับการรักษาด้วยภาวะไข้  ในหอผู้ป่วยเด็กศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการจดบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  (Content  analysis)                                        ผลการวิจัย  พบ 3 ประเด็น ดังนี้

1).  การสังเกตการเปลี่ยนแปลง  มี  2  ประเด็นหลัก  คือ  อาการที่ปรากฏร่วมกับไข้,พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงของบุตร และอุณหภูมิกายเปลี่ยนแปลง  2).การจัดการภาวะไข้ของมารดาประกอบด้วยกิจกรรม   3  ประเด็นหลัก คือ การเฝ้าการสังเกตและติดตามประเมินอาการ  การลดไข้   และ การให้น้ำดื่มและอาหารที่มีประโยชน์  3).ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภาวะไข้ มี  2  ประเด็นหลัก คือ ปัจจัยด้านบุคคล  และ ปัจจัยด้านความรู้ในการดูแลบุตร   ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล ในการประเมินการรับรู้เกี่ยวกับการจัดการภาวะไข้ของครอบครัวเด็กป่วย  และวางแผนจัดทำแนวปฏิบัติในการจัดการภาวะไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads