ผลการพัฒนาศักยภาพแกนนำครอบครัวและแกนนำชุมชน ในการลดปัญหาการดื่มสุราไม่พึงประสงค์: กรณีศึกษาหมู่บ้าน พ. หมู่ที่ 14 อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี.

ผู้แต่ง

  • ประพันธ์พงษ์ ประกิระนะ
  • ดารุณี จงอุดมการณ์

คำสำคัญ:

แกนนำครอบครัวและแกนนำชุมชน, การดื่มสุราไม่พึงประสงค์ Family and Community Leaders, Alcohol Undesirable Problems

บทคัดย่อ

This Participatory Action Research (PAR) aimed to 1) Study a situational analysis of alcohol undesirable problems in community. 2) Development of potential family and community leaders in reduce alcohol misuse and 3) Study of a model for management and reducing drinking problems in community. The action research based on Social Capital and WHO Family Health Nurse. Qualitative data were collected through brain storming, focus group discussion, In-dept interviews , participant observation, writing field note and review from a secondary data records with 24 Family and Community leaders ,who have proposed in the community stage consist of community members, village health volunteers and the experts. at P. community from January – October 2011

The results of situational analysis of alcohol undesirable problems revealed a large-scale alcohol misuse and bring to chronic problems. 24 Family and Community leaders participated in the implementation of the project. The strategies and action plans solving alcohol problems, empowerment, family support and education took place in various forms to prevent solve and rehabilitate undesirable drinkers, such as giving knowledge about the harm of alcohol in the community and a forum to share their learning, experience of specialists from drug treatment center. The results revealed decrease alcohol consumption and problems in the community, family and individual. A knowledge and experience exchange forum was carried among the committee. Finally, the model was presented as a model for solving undesirable drinking problems.

 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาศักยภาพแกนนำครอบครัวและแกนนำชุมชนในการลดปัญหาการดื่มสุราไม่พึงประสงค์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การดื่มสุราไม่พึงประสงค์ของบุคคลในชุมชนที่ร่วมโครงการ 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำครอบครัวและชุมชนในการลดปัญหาการดื่มสุราไม่พึงประสงค์ และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างการจัดการเพื่อการป้องกันแก้ไขปัญหาการดื่มสุราไม่พึงประสงค์โดยแกนนำครอบครัวและชุมชนที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในชุมชน โดยใช้แนวคิดทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน (Social Capital) ร่วมกับกรอบแนวคิดพยาบาลสุขภาพครอบครัว (Family Health Nurse) ขององค์การอนามัยโลก เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในกลุ่มแกนนำครอบครัวและแกนนำชุมชนด้วยการประชาคมและการระดมสมอง คัดเลือกชุมชนจากความสมัครใจและความพร้อมของชุมชน แกนนำคอบครัวและแกนนำชุมชนได้มาจาการเสนอชื่อในเวทีประชาคมประกอบด้วย ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 24 คน   ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ชี้ให้เห็นว่า การดื่มสุราของคนในชุมชนนับวันมีความรุนแรงและเป็นปัญหาเรื้อรัง กรรมการควบคุมป้องกันการดื่มสุราไม่พึงประสงค์ในชุมชนได้ร่วมกันวางแผนกลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน จัดตั้งกฎระเบียบและได้รับการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบต่างๆ เช่นการให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของสุราในระดับชุมชนและในเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด ตามกรอบแนวคิดพยาบาลสุขภาพครอบครัว ผลการปฏิบัติการวิจัยพบว่าสภาพการณ์ดื่มสุราลดลงเห็นผลเป็นรูปธรรมทั้งในระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน ในที่สุดได้รูปแบบการดำเนินงานที่เป็นต้นแบบในการจัดการและแก้ไขปัญหาการดื่มสุราไม่พึงประสงค์ในชุมชน มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเผยแพร่ให้ท้องถิ่นและภาคี เครือข่ายเพื่อการดำเนินการอย่างบูรณาการและยั่งยืน.

Downloads

How to Cite

1.
ประกิระนะ ป, จงอุดมการณ์ ด. ผลการพัฒนาศักยภาพแกนนำครอบครัวและแกนนำชุมชน ในการลดปัญหาการดื่มสุราไม่พึงประสงค์: กรณีศึกษาหมู่บ้าน พ. หมู่ที่ 14 อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. J Nurs Healthc [อินเทอร์เน็ต]. 11 มิถุนายน 2013 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];30(4):109-16. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/9252