ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วย ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว

ผู้แต่ง

  • พวงเพ็ชร สมทรัพย์สิน
  • ชวนพิศ ทำนอง

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง ภาวะหัวใจล้มเหลว การจัดการตนเอง Self – management program, congestive heart failure, self - management

บทคัดย่อ

This qausi-experimental research aimed to explore  self – management program   on volume overload and dyspnea in patient with congestive heart failure.  The sample for this study consisted of patient with congestive heart failure in Medicine Clinic at Amnatcharoen Hospital, Amnatcharoen province. randomly assisgned into an experimental group and a control group, 15 patients each.  The experimental group was designed to using Creer, 2000 concept.  The 6 process were: 1) Goal selection 2) Information   collection    3) Information processing and evaluation 4) Decision making5) Action and 6) Self-reaction. The control group received regular nursing care. The instrument used to collect the data were interviews and behaviors of the self-management group. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Paired t-test and Independent t-test.

The result of the study were as follows:  The patient with congestive heart failure receiving the self – management program had higher mean rank of self – management behaviors than before receiving the self–management program and had higher mean rank of self– management behaviors than those in the control group, at the 0.05 level of significance

 

การศึกษาทดลองนี้ ศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ที่มารับบริการในคลินิกอายุรกรรม  โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ  จำนวน 30 คน สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  กลุ่มละ 15 คน  กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดการจัดการตนเองของ Creer  (2000) โดยกระบวนการประกอบด้วย  6  ขั้นตอน  คือ 1) การเลือกเป้าหมาย  2) การรวบรวมข้อมูล  3) การวิเคราะห์และประเมินข้อมูล 4) การตัดสินใจ  5) การปฏิบัติ  และ 6) การประเมินตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการจัดการตนเอง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  Paired t-test  และ Independent t-test  ผลการวิจัยสรุปได้ว่า   ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

Downloads